จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ข้อแนะนำในการตั้งชื่อโฟลเดอร์เพื่อเก็บไฟล์ซอร์สโค้ดภาษาซี

C:\tc\bin\tcc.exe
ข้อแนะนำในการตั้งชื่อโฟลเดอร์เพื่อเก็บไฟล์ซอร์สโค้ดภาษาซี
1.ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ หรือตัวเลข 0-9
2.ความยาวของชื่อโฟล์เดอร์ไม่เกิน 8 อักขระ
3.ไม่เว้นวรรค
4.หลีกเลี่ยงตัวอักษร O 0 o (ตัวโอเล็ก ใหญ่ เลขศูนย์)
5.หลีกเลี่ยงตัวอักษร I l 1 (ตัวอักษรไอตัวใหญ่ ตัวแอลพิมพ์เล็ก เลข 1)
(case sensitive = ...)
6.ตั้งชื่อให้สื่อความหมาย

คำสงวนในภาษาซี
คำหลักในภาษาซี
keyword,c reserved word

C - Reserved Keywordss

auto else long switch
break enum register typedef
case extern return union
char float short unsigned
const for signed void
continue goto sizeof volatile
default if static while
do int struct _Packed
double

http://www.tutorialspoint.com/ansi_c/c_reserved_keywords.htm

C Language Keywords

auto
break
case
char
const
continue
default
do
double
else
enum
extern
float
for
goto
if
int
long
register
return
short
signed
sizeof
static
struct
switch
typedef
union
unsigned
void
volatile
while

http://tigcc.ticalc.org/doc/keywords.html#auto

วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ภาษาซี week 1

การเขียนโปรแกรมภาษาซี 3204-2008
เครื่องมือ
1. ตัวแปรภาษาซี (Turbo C: TC30)
2. text editor (Edit plus 3)
1. เตรียมโปรแกรมโดยดาวน์โหลดที่
2.แตกไฟล์ด้วยโปรแกรม winzip, winrar,7 zip
3.ติดตั้งโปรแกรมตัวแปรภาษาซีโดย db click ไฟล์ install.bat
4.ตรวจสอบการติดตั้งโดยดูที่ C:\TC\มี7โฟลเดอร์กับ5ไฟล์
5.ทดสอบและติดตั้งค่าคอนฟิก
goto C:\TC\Bin\tc.exe
เตรียมเครื่องมือ Text editor

1.ดาวน์โหลด Edit plus
2.Extract
3.install
4.set config เพื่อให้ edit plus แปรภาษาซีได้
5.tools > configure user tools
6.Add Tools > programs
7.Menu text : C Compiler
8.Command : click browse (...) : C:\TC\BIN\Tcc.exe
9.Argument : click arrow ด้านขวาแล้วเลือก File name
10.Initial Directory:
click arrow ด้านขวาแล้วเลือก File Directory
11.การเชตค่าตัวรัน
-Add Tool > Program
-Run C
-Argument : click arrow ด้านขวาแล้วเลือก
File name without Extension
= $(FileNameNoExt)
ให้ Cut ไปวางที่ command
-Initial Directory:
click arrow ด้านขวาแล้วเลือก File Directory
12. copy ไฟล์ C:\TC\Bin\TLINK.EXE มาเก็บในโฟลเดอร์ที่เราจะเก็บงาน(D:\MyTC)
13.ทดลองใช้ Edit plus สร้างโปรแกรมด้วยภาษาซี
-สร้างไฟล์ใหม่โดยคลิกที่ File > New > C/C++
-Save : D:\MyTC\test01.c
-Tools > C Compiler
-ถ้าไม่มีปัญหา > Tool Run C
14. จบการทำงาน สั่งโอเลี้ยงมาดื่มได้

ภาษาซี week 1
ผู้เขียน นายรัฐพัฒน์ มัสมี (บอล)

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ไวรัสที่อันตรายที่สุดในโลก และวิธีปอ้งกัน

คำเตือนจากไมโครซอฟท์ ( www. microsoft. com) คำเตือน!!!ไมโครซอฟท์ (www.microsoft. com)และแม็คอาฟี( www. mcafee. com ) เพิ่งพบไวรัสตัวใหม่ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายมากที ่สุดเท่าที่มีมาแม็คอาฟีเพิ่งพบ ไวรัสตัวนี้เมื่อบ่ายวานนี้ (วันที่ 28 พ.ค. 51) แ ละยังไม่มีโปรแกรมป้องกัน ไวรัสนี้จะทำลายเซคเตอร์ซีโร่ในฮาร์ดดิสค์ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลการทำงานที่ ขาดไม่ได้

การทำงานของมันเป็นดังนี้ :

มันจะส่งตัวเองโดยอัตโนมัติไปยังทุกรายชื่อที่คุณติดต่ อโดยใช้หัวข้อ AVirtual Card for You (คล้ายเวลาเราได้การ์ดอินเทอร์เนตจากเพื่อน) ทันทีที่เปิดสิ่งที่ส่งมานี้ คอมพิวเตอร์จะหยุดทำงานเ พื่อผู้ใช้จะต้องบูธเครื่องใหม่ และเมื่อกดปุ่ม Ctrl+Alt+Del หรือปุ่มรีเซ็ท ไวรัสนี้ก็จะทำลายเซ็คเตอร์ซีโร่ซึ่งจะเป็นการทำลายฮาร์ดดิสก์อย่างถาวร
ทั้งนี้ ตามการรายงานของ CNN (www.cnn.com ) ถ้าคุณได้รับจดหมายหัวข้อ An Internet Flower For You อย่าเปิด แต่ให้ลบทิ้งทันทีไวรัสนี้จะทำลายข้อมูลเชื่อมโยง dynamic link libraries (ไฟล์ .dll )ทั้งหมด และ คุณจะ boot เครื่องไม่ได้
อาการโดยประมาณ
1.โดน Blue Screen of death โดยไม่ทราบสาเหตุ
2.เป็น Trojan ที่ดูธรรมดาๆเเต่ไม่ธรรมดาจริงๆ
3.นามสกุลไฟล์ส่วนใหญ่จะเป็น .msi .tmp .dll .com .ini .sys 80 % ไม่ใช่ .exe นะครับ
4.ลบไฟล์ boot.ini ทำให้บูตไม่ขึ้น
5.สั่ง cpu run 100%
6.ไฟล์ trojan เเบบนี้จะหายากมาก
7.เเค่เข้าเว็บก็โดนเเล้ว
8. browser อะไรก็เอาไม่อยู่
9.download ไวรัส , spyware , adware , trojan
10.ไม่สามารถลบ trojan นี้ได้ทุกๆกรณี
11.ปิดการทำงาน safe mode ( บางตัว )
12.ทำให้ hdd เกิด bad sector
13.ทำการ format เครื่องเอง

ไวรัสร้ายตัวใหม่ ดูท่าแล้วน่าจะอันตรายมากเลยนะเนี่ย อย่างไรก็ตามเจออีเมลล์แปลกๆ ก็อย่าเพิ่งไว้ใจเปิดดูนะครับ ไม่งั้นโดนเข้าจะหาว่าไม่เตือนนะ แล้วไวรัสเหล่านี้ยังสามารถติดมาได้จากการเข้าเว็บไซต์ด้วย

เดบิต http://www.compgamer.com



รายชื่อเวปอันตราย

http://www.compgamer.com/forums/index.php?topic=17615.0


ไปเจอมาเห็นว่ามีประโยชน์เลยเอามาฝาก
ไวรัส TROJ_NIMDA.A เป็นไวรัสที่ร้ายแรงมากที่สุดตัวหนึ่งถ้าติดแล้วแทบจะหมดทางแก้ใขกันเลยที เดียว ไวรัสตัวนี้เพิ่งออกเมื่อวานนี้แต่เริ่มระบาดวันนี้ (19/9/2001)
วิธีแก้และป้องกัน
ไวรัส TROJ_NIMDA.A ครับ ตอนนี้ทางแก้มีแบบชั่วคราวครับคือแต่ไม่รับรองว่าจะแก้ได้หมดไหมนะครับ
ปรติแล้วถ้าติดตัวนี้ วิธีเดียวที่จะกำจัดมันคือ Fomat ใหม่ล้วนๆครับ
เน้นนะครับว่าไวรัสตัวนี้ร้ายแรงมากๆๆๆๆ
ร้ายแรงกว่า TROJ_SIRCAM.A เป็นไหนๆ เรียกได้ว่า TROJ_SIRCAM.A เทียบไม่ติด

ถ้ายังไม่ติดให้ไปโหลด ie ตัวใหม่ๆมาใช้ เช่น ie6 ie5.5 sp2 เป็นต้น ซึ่ง มีความปลอดภัยมากพอที่จะกันการทำงานของ ไวรัสดังกล่าวได้บ้าง(แต่ไม่ทั้งหมด)

การติดมักจะมาเป็นแบบ file ที่แนบมา กับ mail ชื่อ Readme.exe หรือ mypic.exe หรือ อาจจะมาเป็น .com หรือ .wav ก้อได้ครับ ดังนั้นไม่ควรรันหรือรับ file ที่มีชื่อหรือนามสกุลดังกล่าวข้างต้น

วิธีกำจัดไวรัสแบบ ลูกทุงสุดๆ(สไตร์คนไทย)

1 หยุดไวรัสไม่ให้ทำงานซะก่อน โดยการหยุด sharing ต่างๆให้หมดซะก่อน(ถ้าคุณติดแล้ว)
2.กด Ctr+Alt+Del ให้หยุดทุก process ทีเป็น .tmp
3. เข้าไปแก้ไขไฟล์ SYSTEM.INI ที่บรรทัดที่ เป็น
Shell = explorer.exe load.exe
ให้เป็น
Shell = explorer.exe
ครับ
4. ทีนี้ให้ไปปรับโหมดการแสดงไฟล์ให้เป็น show all file นะครับ แล้ว ลบไฟล์ load.exe และ riched20.dll ในไดเร็คทอรี่ windows\system ครับ
5.ลบไฟล์ winini.ini ครับ
6.แสกนไวรัสด้วย แอนตี้ไวรัสที่อัพเดตล่าสุดแล้วลบทุกไฟล์ที่ติดเชื่อโดยชื่อTROJ_NIMDA.A.และทุกไฟล์ที่แสดงตัวเป็น worm
7.Microsoft IE MIME เป็น tool ที่ไวรัสใช้ในการทำงาน ทางไมโครซอฟท์ได้แนะนำให้อัพเดตไออีเป็นเวอร์ ชั่น ใหม่ ตั้งแต่ 5.5 servicepack1 ขึ้นไป เพื่อเป็นการป้องกัน (เพราะตอนนี้เท่าที่ดูยังไม่มีใครรู้ทางแก้ไขครับ)
8.ถ้าเป็นวินโดว์สสองพันที่รัน IIS 5 อยู่ให้อัพเดตเป็น servicepack 2 ครับ และสามารถหาดาวน์โหลดได้ที่เว็บของเราด้วยครับ เหอๆๆๆๆๆ http://www.thaitester.com
9.สำหรับ windows 9X และ ME ต้องใช้ ie 5.5 servicepack2 ขึ้นไป สำหรับ windows 95 ถ้าลง เวอร์ชั่น 5.5ไม่ได้( ในบางเครื่อง)ให้ ลงเวอร์ชั่น 5.01 servicepack 1 แทน ก็จะพอป้องกันได้ครับ


วิธีป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์




ใครที่ไม่อยากให้คอมพิวเตอร์โดนไวรัสเล่นงาน วันนี้มีวิธีป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาบอก…

- ควรติดตั้งซอฟแวร์ป้องกันไวรัสที่เชื่อถือได้ และสามารถอัพเดทฐานข้อมูลไวรัสและเครื่องมือได้ตลอด เพราะจะทำให้สามารถดักจับและจัดการกับไวรัสตัวใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

- อย่าตั้งค่าให้โปรแกรมอีเมลเปิดไฟล์ที่แนบมาโดยอัตโนมัติ ควรจะต้องตรวจสอบก่อนดาวน์โหลดหรือเปิดไฟล์ขึ้นมา

- สแกนไฟล์แนบท้ายของอีเมลทุกฉบับ หรือแม้แต่อีเมลจากคนรู้จัก

- ตั้งค่าระบบป้องกันให้ทำงานทันทีที่เริ่มเปิดคอมพิวเตอร์ใช้งาน

- อัพเดทซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเป็นไปได้ควรอัพเดททุกครั้งที่ออนไลน์ เพราะจะมีไวรัสสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน

- อย่าดาวน์โหลดโปรแกรมจากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะอาจได้ไวรัสแถมมาด้วย แต่หากต้องการดาวน์โหลดจริง ๆ ก็ให้สร้างโฟลเดอร์เฉพาะไว้ต่างหาก และสแกนหาไวรัสก่อนเปิดใช้งาน

- ควรสแกนแฟตไดร์ก่อนใช้งานทุกครั้ง เพราะแฟตไดร์เป็นพาหะในการนำข้อมูลจากพีซีเครื่องหนึ่งมาใส่ในอีกเครื่อง
รู้อย่างนี้แล้ว ถ้าไม่อยากให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดไวรัส ลองนำวิธีที่แนะนำไปป้องกันไวรัสกันดีกว่า…




(จาก นสพ. เดลินิวส์)

วิธีการกำจัดและป้องกันไวรัสที่ร้ายแรง

- วิธีกำจัดไวรัส W32.Conficker.C หรือ W32.Downandup.C --



ข้อมูลทั่วไป

W32.Conficker.C หรือ W32.Downandup.C เป็นหนอนที่แพร่กระจายตัวเองโดยโจมตีผ่านช่องโหว่ Windows Server service (SVCHOST.EXE) ของระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดวส์ MS08-067 หรือในประกาศ CERT Advisory ที่ CA-2008-29 ซึ่งถ้าหากเครื่องดังกล่าวเปิดให้บริการการแชร์ไฟล์ไว้จะถูกหนอนชนิดนี้ฝัง ตัว หลังจากนั้นหนอนจะแพร่กระจายไปยังไดร์ฟต่างๆ รวมไปถึงการแชร์ไฟล์ของเครื่องอื่นๆ ที่ใช้รหัสผ่านที่อ่อนแอของผู้ดูแลระบบ อีกทั้งยังหยุดการให้บริการของระบบ (System service) รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ด้านการรักษาความปลอดภัยต่างๆ (Security Products) อีกด้วย [1][2]

หนอนชนิดนี้ยังมีความสามารถในการหยุดการเข้าถึงบางเว็บไซต์โดย เฉพาะเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมป้องกันไวรัส รวมทั้งเว็บไซต์ของ CERT ต่างๆ จากแหล่งข่าวด้านการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ทั่วโลกรวมไปถึงรายงานและผล การวิเคราะห์การทำงานของหนอนชนิดนี้จากหน่วยงานด้านการรักษาความปลอดภัย คอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่เป็นสมาชิกของ FIRST และ APCERT (ซึ่งรวมถึงทีมงาน ThaiCERT ด้วย) พบว่าในวันที่ 1 เมษายน 2552 หนอนชนิดนี้จะสร้างรายชื่อโดเมนจำนวน 50,000 ชื่อ และทำการเชื่อมต่อไปยังโดเมนที่สร้างขึ้น โดยที่ชื่อโดเมนประกอบด้วยคำต่อท้ายต่างๆ (suffix) [2]


ภาพแสดงโค้ดของหนอนที่บ่งบอกถึงการทำงานของหนอนในวันที่ 1 เมษายน 2552 (ภาพจากเว็บไซต์ [3])

วิธีการแพร่กระจาย

หนอนชนิดนี้สามารถแพร่กระจายโดยอาศัยการโจมตีผ่านช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดวส์ที่ MS08-067 ติดต่อผ่านไดร์ฟภายนอก (Removable Drive) ที่นำมาต่อ และการแชร์ไฟล์ที่ใช้รหัสผ่านที่อ่อนแอ

ผลกระทบที่เกิดขึ้น

* เครื่องอาจทำงานผิดพลาด : เนื่องจากหนอนชนิดนี้ทำการแก้ไขค่าในรีจิสทรี สร้างไฟล์ขึ้นมา รวมทั้งมีการยุติการทำงานบางเซอร์วิสของระบบปฏิบัติการและผลิตภัณฑ์การรักษา ความปลอดภัยด้วย
* เปิดการเชื่อมต่อที่ผิดปกติ : หนอนชนิดนี้จะทำการเข้าถึงเว็บไซต์ต่างๆ ในวันที่ 1 เมษายน 2552 และเชื่อมต่อกับเครื่องอื่นที่เปิดให้บริการการแชร์ไฟล์
* เปิดพอร์ตที่ผิดปกติ : เปิดพอร์ต 139/TCP และ 445/TCP

รายละเอียดทางเทคนิค

เมื่อหนอน W32.Conficker.C หรือ W32.Downandup.C ถูกเอ็กซิคิวต์ หนอนจะมีกระบวนการดังนี้

วิธีกำจัดหนอนชนิดนี้

* การกำจัดหนอนแบบอัตโนมัติ
1. ดาวน์โหลดไฟล์ FixDwndp.exe จาก http://www.symantec.com/content/en/us/global/removal_tool/threat_writeups/FixDwndp.exe
2. เลือกที่เก็บไฟล์ให้สะดวกต่อการเปิดใช้งาน เช่นเก็บไว้ที่ Desktop
3. ปิดการทำงานทุกโปรแกรม
4. ยกเลิกการเชื่อมต่อเครือข่ายทั้งหมด
5. ถ้าเป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ME และ XP ให้ทำการ Disable System Restore ก่อน ดังรายละเอียดเพิ่มเติมของ ME และ XP
6. ดับเบิลคลิกที่ไฟล์ FixDwndp.exe แล้วกดปุ่ม "Scan" และอนุญาตให้รันไฟล์ดังกล่าว
7. รีสตาร์ทเครื่อง
8. รันไฟล์ FixDwndp.exe อีกรอบ เพื่อยืนยันว่าหนอนได้ถูกกำจัดจากเครื่องแล้ว
9. เมื่อกำจัดหนอนเรียบร้อยแล้ว ให้เชื่อมต่อเครือข่าย และปรับปรุงฐานข้อมูลของโปรแกรมป้องกันไวรัสที่ติดตั้งอยู่
10. เพื่อป้องกันไม่ให้หนอนชนิดนี้กลับมาทำอันตรายต่อระบบได้อีก ให้ทำการปรับปรุงโปรแกรมซ่อมแซมช่องโหว่ MS08-067 หรือในประกาศ CERT Advisory ที่ CA-2008-29

วิธีป้องกันตัวเองจากหนอนชนิดนี้

1. ติดตั้งโปรแกรมปรับปรุงช่องโหว่ (patch) ของระบบปฏิบัติการตามประกาศของไมโครซอฟท์หมายเลข MS08-067
2. ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส และต้องทำการปรับปรุงฐานข้อมูลไวรัสให้ทันสมัยอยู่เสมอ
3. สแกนไฟล์ในไดร์ฟ USB ก่อนเปิดใช้งานทุกครั้ง
4. ทำการสำรองข้อมูลในเครื่องอยู่เสมอ และเตรียมหาวิธีการแก้ไขเมื่อเกิดเหตุขัดข้องขึ้น

โดย:katatummo
ที่่มา:www.thaicert.or.th

ลิงค์ อ้างอิงที่มาเกี่ยวกับไวรัส

http://www.metukyang.com/th/index.php?topic=140.0



http://www.rmuti.ac.th/2009/news/?ni=001158

อุปกรณ์สำหรับการกำจัดไวรัส

ฮาร์ดแวร์ ได้แก่ แผงวงจรป้องกันไวรัส หรือที่เรียกกันโดยทั่วๆไปว่าการ์ดป้องกันไวรัส การใช้งานก็เพียงแต่ติดตั้งการ์ดนี้ลงในช่อง (Slot) บนเมนบอร์ดแล้วเปิดสวิตช์ บูตคอมพิวเตอร์ แผงวงจรดังกล่าวจะตรวจสอบและทำลายไวรัส ตามขั้นตอนที่ระบุมากับการ์ดป้องกันไวรัส การติดตั้งการ์ดนี้ไว้ตลอดเวลาก็สามารถป้องกันไวรัสได้เช่นกัน เพียงแต่ว่าการทำงานของคอมพิวเตอร์จะช้าลงไปเนื่องจากการ์ดจะทำหน้าที่คอย ตรวจสอบการอ่าน- เขียน แฟ้มข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ทุกๆ ครั้ง

ซอฟต์แวร์กำจัดไวรัส ซอฟต์แวร์กำจัดไวรัสนั้นมีผู้ผลิตหลายรายผลิตออกมามีทั้งชนิดที่กำจัด สามารถฆ่าไวรัสได้หลายๆ ตัว กับชนิดที่สามารถฆ่าไวรัสได้เพียงตัวเดียว โปรแกรมเหล่านี้ได้แก่ Mcafee Scan,PC-Cillin , MSAV, Norton Antivirus เป็นต้น

วิธีป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์

การป้องกันไวรัส
การป้องกันไวรัสที่ดีที่สุดก็คือ ไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เลย คงเป็นไปไม่ได้ และก็ไม่ใช่วิธีที่ได้ประโยชน์สูงสุด มีบางองค์กร กำหนดว่าห้ามนำดิสก์เกตต์จากแหล่งอื่นเข้ามาใช้ในศูนย์คอมพิวเตอร์หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทางศูนย์ฯได้มีการจัดเตรียมแผ่นดิสก์ไว้ให้ผู้ที่มาใช้บริการคอมพิวเตอร์ ใช้งาน วิธีดังกล่าวสามารถป้องกันไวรัสได้บางส่วน หรือบางองค์กรอาจลงทุนซื้อการ์ดป้องกันไวรัสมาติดตั้งเข้ากับคอมพิวเตอร์ก็ ได้ หรืออบรมให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์เข้าใจว่าไวรัสก่อผลเสียหายให้กับ คอมพิวเตอร์อย่างไร พร้อมทั้งสอนวิธีการป้องกันให้ วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้สามารถป้องกันไวรัสได้ แต่ไม่ทั้งหมด บางครั้งด้วยความประมาทของผู้ใช้งานก็อาจทำให้ไวรัสลอบเข้ามาภายในเครื่อง โดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้สำหรับองค์กรใหญ่ที่ใช้ระบบเครือข่ายแล้วไวรัสอาจจะแพร่มาทาง คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งภายในเครือข่ายก็ได้ รวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์ในการต่อเชื่อมกับเครือข่าย ภายนอกประเภทอินเตอร์เน็ตและบีบีเอสต่างๆ โดยการดาวน์โหลด (Download)โปรแกรมมาใช้งานกับคอมพิวเตอร์ภายใน องค์กร ซึ่งอาจมีไวรัสมาพร้อมโปรแกรมได้เช่นกัน

วิธีการป้องกันไวรัส

การป้องกันไวรัส
การป้องกันไวรัสที่ดีที่สุดก็คือ ไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เลย คงเป็นไปไม่ได้ และก็ไม่ใช่วิธีที่ได้ประโยชน์สูงสุด มีบางองค์กร กำหนดว่าห้ามนำดิสก์เกตต์จากแหล่งอื่นเข้ามาใช้ในศูนย์คอมพิวเตอร์หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทางศูนย์ฯได้มีการจัดเตรียมแผ่นดิสก์ไว้ให้ผู้ที่มาใช้บริการคอมพิวเตอร์ ใช้งาน วิธีดังกล่าวสามารถป้องกันไวรัสได้บางส่วน หรือบางองค์กรอาจลงทุนซื้อการ์ดป้องกันไวรัสมาติดตั้งเข้ากับคอมพิวเตอร์ก็ ได้ หรืออบรมให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์เข้าใจว่าไวรัสก่อผลเสียหายให้กับ คอมพิวเตอร์อย่างไร พร้อมทั้งสอนวิธีการป้องกันให้ วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้สามารถป้องกันไวรัสได้ แต่ไม่ทั้งหมด บางครั้งด้วยความประมาทของผู้ใช้งานก็อาจทำให้ไวรัสลอบเข้ามาภายในเครื่อง โดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้สำหรับองค์กรใหญ่ที่ใช้ระบบเครือข่ายแล้วไวรัสอาจจะแพร่มาทาง คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งภายในเครือข่ายก็ได้ รวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์ในการต่อเชื่อมกับเครือข่าย ภายนอกประเภทอินเตอร์เน็ตและบีบีเอสต่างๆ โดยการดาวน์โหลด (Download)โปรแกรมมาใช้งานกับคอมพิวเตอร์ภายใน องค์กร ซึ่งอาจมีไวรัสมาพร้อมโปรแกรมได้เช่นกัน

วิธีการตรวจสอบไวรัสคอมพิวเตอร์

การตรวจสอบไวรัสภายในคอมพิวเตอร์
ขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์แล้วหากปรากฏว่ามีอาการแปลกๆ เกิดขึ้นกับคอมพิวเตอร์ เช่น แฟ้มข้อมูลบางแฟ้มหายไปโดย ไร้ร่องรอย หรือบางครั้งแฟ้มที่ต้องการใช้งานมีอยู่ในฮาร์ดดิสก์ แต่เมื่อเรียกใช้งานแฟ้มดังกล่าวปรากฏว่ามีข้อความบนหน้าจอแจ้งกลับมาว่า ไม่พบแฟ้มดังกล่าวหรือแฟ้มดังกล่าวมีขนาดใหญ่เกินไป หรือขนาดเปลี่ยนแปลงไป ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจมีไวรัสชนิดใดชนิดหนึ่งภายในคอมพิวเตอร์และไวรัสชนิด นั้นกำลังทำงาน หรืออีกกรณีหนึ่งผู้ใช้งานกำหนดให้พิมพ์รายงานโดยใช้ Word Processor เมื่อสั่งพิมพ์จากเมนูพิมพ์แล้วปรากฏว่าแทนที่เอกสารจะถูกพิมพ์ออกทาง พรินเตอร์เหมือนทุกครั้งกลับไม่มีเอกสารพิมพ์ออกมา นอกจากนี้ยังมีข้อความแจ้งบนจอภาพว่าไม่มีเครื่องพิมพ์ต่อกับคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถพิมพ์เอกสารได้ ทั้งที่ได้ต่อเครื่องพิมพ์ ติดตั้งไดรเวอร์สำหรับเครื่องพิมพ์และการพิมพ์งานครั้งก่อนก็ทำได้ กรณีนี้การถูกไวรัสก็เป็นได้ การตรวจสอบไวรัสนั้น ทำได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

วิธีการตรวจสอบไวรัสภายในคอมพิวเตอร์
ใช้ Scan Virus Application ที่ออกแบบมาสำหรับตรวจสอบและกำจัดไวรัสเพื่อตรวจสอบไวรัส ได้แก่ Mcafee Scan , PC-Cillin , MSAV, Norton Antivirus เป็นต้น
ใช้ฮาร์ดแวร์ที่มีผู้ออกแบบสำหรับตรวจสอบไวรัส ได้แก่ การ์ด Anti Virus

ไวรัสคอมพิวเตอร์ที่มีอันตราย

ตัวอย่างไวรัสที่กำลังระบาด
ไวรัสตัวนี้คือ Love Letter หรือ Love bug จะมาพร้อมกับ email โดยที่ email ฉบับ นี้จะส่งไฟล์ นามสกุล vbs แนบมาด้วย และถ้าใครเผลอไปเปิดเข้าหล่ะก็ เจ้าไฟล์ vbs (Visual Basic Script) ตัวนี้ ที่เป็น text ไฟล์ธรรมดา จะทำงานโดยอัตโนมัติ ตามคำสั่งที่มีอยู่ในนั้น โดยขั้นแรก จะทำการส่งอีเมล์ฉบับนี้ ไปยังทุกคนที่อยู่ใน address book ของคุณ วิธีการที่คุณจะหยุดได้คือ กดปุ่มคียบอร์ด Ctrl + Alt + Del แล้วเลือกไปที่ชื่อโปรแกรมรับส่ง อีเมล์ ที่คุณใช้แล้ว กดปุ่ม End Task ความเสียหายที่เกิดขึ้น จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเร็วของคุณ นอกจาก email ตัวนี้ จะส่งตัวมันเองพร้อมไฟล์ที่แนบมาด้วยไปหาเพื่อนๆ คุณโดยอัตโนมัติโดย จ่าหัวจดหมายว่า I Love You แล้ว มันยังจะไปแก้ registry ของระบบปฏิบัติการ window ของคุณ ให้รวน และยังทำให้โปรแกรมรับส่ง อีเมล์ของคุณรวนจนใช้งานไม่ได้ และที่ร้ายที่สุดคือ ไฟล์นามสกุล mp3 jpg jpeg js jse css wsh sct hta จะถูกแทนที่ด้วย ไฟล์ที่มีนามสกุล vbs แทน และเจ้าไวรัสตัวนี้ ยังจะเข้าไปแก้ไฟล์ ini ของโปรแกรม mirc ของคุณให้ส่งข้อความเอง เมื่อเปิดขึ้นมาอีกด้วย นอกจากนี้ หน้า startup ของ IE ที่คุณใช้ จะเปลี่ยน URL ให้ดาวน์โหลดไฟล์ที่ชื่อว่า WIN-BUGSFIX.exe ซึ่งถ้าคุณเผลอไปดาวน์โหลดเข้าหล่ะก็ อาจจะโดนอีกกระทงคือเจ้าไฟล์ตัวนี้จะเป็นโปรแกรมที่เรียกว่า trojan คือมันจะส่งข้อมูลทุกๆ ข้อมูลที่โปรแกรมตั้งไว้ไปยังเครื่องของเจ้าของ รวมทั้ง password ต่างๆ โดยโปรแกรมตัวนี้จะทำงานทุกครั้งที่คุณเปิด window ตอนจบของโปรแกรมนี้จะเรียกไฟล์ชื่อ LOVE-LETTER-FOR-YOU.HTM ขึ้นมาบอกให้คุณทราบว่า คุณโดนเจ้าไวรัสพันธุ์ใหม่ชนิดนี้เข้าให้แล้วเพราะฉะนั้นก่อนที่จะอ่าน mail ก็ดูให้ดีก่อนว่า เรารู้จักคนที่ส่งมาให้หรือเปล่าเพื่อความปลอดภัย ส่วนการตรวจสอบก็สามารถ DownLoad โปรแกรมได้เลยตาม website ต่างๆ เช่น http://www.sanook.com http://www.download.com http://www.tucows.com เป็นต้น หวังว่าทุกคนคงพอจะเข้าใจเกี่ยวกับไวรัสกันบ้างแล้ว และอย่าลืมว่าทุกครั้งที่จะใช้แผ่นดิสก์ ก็ยอมสละเวลาสักนิด scan ไวรัสก่อน ก่อนที่จะเกิดปัญหาภายหลัง และโปรแกรมที่ใช้ scan ก็ควรที่จะ update อยู่เสมอๆ ด้วย

วิธีการระบาดหรือกระจายตัวของไวรัสคอมพิวเตอร์

วิธีการแพร่ระบาด
ไวรัส W32/Conflicker หรือ W32/Downadup.AL นั้น มีวิธีการแพร่ระบาดหลายวิธีด้วยกัน ดังนี้
- แพร่ระบาดโดยใช้จุดพกพร่องของ Server Service (MS08-067)
- แพร่ระบาดผ่านทางการแชร์บนเครือข่าย
- แพร่ระบาดผ่านทางไดร์ฟเก็บข้อมูลแบบพกพา (บนระบบที่มีการเปิดใช้งาน AutoPlay)

ลักษณะการทำงานของไวรัสคอมพิวเตอร์

การทำงานของไวรัสคอมพิวเตอร์

การทำงานของไวรัส โดยทั่วไป คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อน และจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำทันที แล้วจึงค่อยให้โปรแกรมนั้นทำงานตามปกติต่อไป เมื่อไวรัสเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้ว หลัง จากนี้ไปถ้ามีการเรียกโปรแกรมอื่นๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสก็จะสำเนาตัวเองเข้าไป ในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป

ประเภทของไวรัสในคอมพิวเตอร์

ประเภทของไวรัส

1. บูตเซกเตอร์ไวรัส
Boot Sector Viruses หรือ Boot Infector Viruses คือ ไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์ คือ เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาตอนแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการเรียกระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงานอีกทีหนึ่ง บูตเซกเตอร์ไวรัสจะเข้าไปแทนที่โปรแกรมดังกล่าว และไวรัสประเภทนี้ถ้าไปติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ โดยทั่วไป จะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Parition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น ถ้าบูตเซกเตอร์ของดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ทุกๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมาโดยพยายามเรียกดอสจากดิสก์นี้ ตัวโปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อน และจะเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำงานตามที่ได้ถูก โปรแกรมมา แล้วตัวไวรัสจึงค่อยไปเรียกดอสให้ขึ้นมาทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

2. โปรแกรมไวรัส
Program Viruses หรือ File Infector Viruses เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติก็คือ ไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้าไปติดอยู่ในโปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น sys และโปรแกรมประเภท Overlay Programs ได้ด้วย โปรแกรมโอเวอร์เลย์ปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย OV วิธีการที่ไวรัสใช้เพื่อที่จะเข้าไปติดโปรแกรมมีอยู่สองวิธี คือ การแทรกตัวเองเข้าไปอยู่ในโปรแกรม ผลก็คือหลังจากที่โปรแกรมนั้นติดไวรัสไปแล้ว ขนาดของโปรแกรมจะใหญ่ขึ้น หรืออาจมีการสำเนาตัวเองเข้าไปทับส่วนของโปรแกรมที่มีอยู่เดิม ดังนั้นขนาดของโปรแกรมจะไม่เปลี่ยนและยากที่จะซ่อมให้กลับเป็นดังเดิม การทำงานของไวรัส โดยทั่วไป คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ ฝังตัวเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำทันทีแล้ว จึงค่อยให้โปรแกรมนั้นทำงานตามปกติต่อไป เมื่อไวรัสเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้ว หลังจากนี้ไปถ้ามีการเรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสก็จะสำเนาตัวเองเข้าไปในโปรแกรมเหล่านี้ทันทีเป็นการแพร่ระบาดต่อไป วิธีการแพร่ระบาดของโปรแกรมไวรัสอีกแบบหนึ่ง คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่มีไวรัสติดอยู่ ตัวไวรัสจะเข้าไปหาโปรแกรมอื่น ๆ ที่อยู่ในดิสก์ เพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียกนั้นทำงานตาม ปกติต่อไป

3. ม้าโทรจัน
Trojan Horse เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโปรแกรมธรรมดาทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำอธิบาย การใช้งานที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันอาจจะเช่นเดียวกับคนเขียนไวรัส คือ เข้าไปทำอันตรายต่อข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วงเอาความลับของระบบคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันนี้อาจจะถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดด ๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มี ม้าโทรจันอยู่ในนั้น และนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโปรแกรมที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและสร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบตซ์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมประเภทม้าโทรจันได้

4. โพลีมอร์ฟิกไวรัส
Polymorphic Viruses เป็นชื่อที่ใช้เรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเองได้ เมื่อมีการสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจับ โดยเฉพาะโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ๆในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้ก็เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

5. สทีลต์ไวรัส
Stealth Viruses เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรมใดแล้วจะทำให้ขนาดของโปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทีลต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริงของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตัวไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิม ทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ลักษณะสำคัญของไวรัสคอมพิวเตอร์

ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ โปรแกรมที่มีผู้เขียน เขียนขึ้นมาเพื่อขัดขวางการทำงานของคอมพิวเตอร์ เช่น ขัดขวางการเข้าถึง (access) ข้อมูลในหน่วยความจำ ขัดขวางการอ่านแฟ้มข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ ขัดขวางการใช้งานอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น พรินเตอร์ สแกนเนอร์ ทำให้เสมือนว่าใช้งานกับคอมพิวเตอร์ไม่ได้ จนกระทั่งทำลายแฟ้มข้อมูล หรือทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานผิดปกติไปจากเดิม ส่วนการติดไวรัสอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีก เครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูล โดยเฉพาะทาง Internet นั่นแหละแหล่งรวมไวรัส

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของ CPU

Cpu Intel Core I3
Core I5
Core I7
1. ระบบ Hyper-Threading สิ่งที่่ CPU ตระกูลนี้นำกลับเข้ามาใช้ที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ ระบบ Hyper-Threading (ระบบการจำลองชุดคำสั่งแบบคู่ขนาน) ซึ่ง intel เคยนำมาใช้ตอน Pentium 4 ครับโดย

i7 จะมี 4 คอร์ 8 เธรด
i5 จะมี 4 คอร์ 4 เธรด และ 2 คอร์ 4 เธรด
i3 จะมี 2 คอร์ 4 เธรด

2. Cache L3 ระบบ Cache L3 เป็นระบบที่ทำ AMD นำมาใช้ก่อนในซีพียูรุ่นก่อนแล้ว ซึ่ง intel เพิ่งจะนำเข้ามาใช้กับซีพียูตระกูลนี้ัครับ

i7 จะมี Cache L3 8 MB
i5 จะมี Cache L3 8 MB และ 4 MB
i3 จะมี Cache L3 4 MB

3. ราคา ซึ่งทาง intel ได้วางตำแหน่งของซีพียูตระกูลนี้ไว้ 3 ระดับด้วยกัน

i7 เป็นซีพียูในระดับสูง ราคาจะอยู่ในช่วง 10,000 บาท ขึ้นไป
i5 เป็นซีพียูใน ระดับกลาง ราคาจะอยู่ในช่วง 6,000 – 7,000 บาท
i3 เป็นซีพียูใน ระดับพื้นฐาน ราคาจะอยู่ในช่วง 4,000 – 5,000 บาท


Core 2 Quad "CPU". รายละเอียด » ทำงานบนซ็อกเก็ต Socket 775 » รองรับระบบบัส 1333 MHz » ความเร็วในการทำงาน 2333 MHz » ใช้เทคโนโลยีการผลิต 45nm » สนับสนุนเทคโนโลยีPart



Pentium 4 "CPU". รายละเอียด » ทำงานบนซ็อกเก็ต Socket 775 » รองรับระบบบัส 800MHz » ความเร็วในการทำงาน 3.0GHz » ใช้เทคโนโลยีการผลิต 65 nm » มีค่าหน่วยความจำระดับ 1M (L1 Cache)


Core 2 Duo
ข้อแตกต่างของคำว่า Solo กับ Duo ก็คือ Solo เป็น CPU แบบ Single Core และ Duo เป็น CPU แบบ Dual Core โดยถ้าใน Intel Core 2 Solo จะไม่มีคุณสมบัติ Intel Advanced Smart Cache (การแชร์ L2 cache เพื่อใช้งานร่วมกันของ Core CPU ใน Multi-core CPU) ส่วนนอกนั้นมันก็เหมือน ๆ กัน [Core Solo and Core Duo]

Core 2 Duo เป็น Hybrid CPU ระหว่าง 32bit และ 64bit CPU มันคงไม่เพียว ๆ แบบ Itanium เพราะ Core 2 Duo มันเป็นทั้ง x86 (32bit เดิม) และ x86-64 (EM64T) โดย Core 2 Duo ที่ใส่ใน Notebook มี codename ว่า Merom เป็นใช้สถาปัตยกรรมแบบ Intel Core microarchitecture โดยผลิตแบบ Dual Core และเทคโนโลยีแบบ 65 nm, เพิ่ม Supplemental Streaming SIMD Extension 3 (SSSE3) เข้ามาในชุดคำสั่งบน CPU ด้วย โดยเพิ่มขึ้นมาอีก 16 ชุดคำสั่ง และยังได้เพิ่ม Intel Advanced Smart Cache เพื่อเข้ามาช่วยจัดการข้อมูลใน L2 Cache ที่แชร์การใช้งานกันอยู่ และมีอย่างอื่นอีกเช่น Intel Wide Dynamic Execution, Intel Intelligent Power Capability, Intel Smart Memory Access และ Intel Advanced Digital Media Boost เป็นต้น ส่วนอื่น ๆ อ่านที่ Intel : Inside Intel Core™ Microarchitecture Setting New Standards for Energy-Efficient Performance ครับ

ส่วน Core Duo ที่มี codename ว่า Yonah ใช้ Pentium M microarchitecture แต่ดันใช้ชื่อ Intel Core ให้สับสนกันเล่น ๆ ซะงั้นอ่ะ ซึ่งเป็นการ Rebranding ตัว Pentuim M ใหม่ และให้มีความเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยนั้นก็คือเปลี่ยนการผลิตจาก 90nm ใน codename Dothan มาเป็น 65nm และเพิ่ม SSE3 ลงไปใน CPU codename ดังกล่าว แถมด้วยเพิ่ม L2 Cache บ้างในบางรุ่น (ส่วนใหญ่จะรุ่นสูง ๆ ) ซึ่ง L2 Cache ที่อยู่ในรุ่น Core Duo นั้นไม่ได้ใช้ Intel Advanced Smart Cache ซึ่งทำให้ L2 Cache นั้นถูกแยกออกมาใช้ในแต่ละ Core Processor ทำให้เกิดการดึงข้อมูลซ้ำซ้อนกันได้ ซึ่งก็ต้องถูกแก้ปัญหานี้โดยใช้ Intel Advanced Smart Cache ในสถาปัตยกรรมแบบ Intel Core microarchitecture นั้นเอง ซึ่งเจ้า Core Duo นั้นก็ยังคงมีความเป็น Pentium M microarchitecture มากกว่า Intel Core microarchitecture อยู่ดี

โดยสรุปได้ย่อ ๆ ว่าสิ่งที่แยกระหว่าง Pentium M microarchitecture และ Intel Core microarchitecture คือ EM64T, SSSE3 , Intel Advanced Smart Cache, Intel Wide Dynamic Execution, Intel Intelligent Power Capability, Intel Smart Memory Access และ Intel Advanced Digital Media Boost เป็นต้น

รายละเอียดความแตกต่างของทั้ง Intel Core Solo/Duo และ Intel Core 2 Solo/Duo มีดังนี้

Core Solo/Duo

Support CPU Speeds: 1.06 GHz – 2.33 GHz
Support FSB Speeds: QDR FSB 133Mhz – 166MHz ~ FSB 533Mhz – 667Mhz

Implementation Mobile
- 478pins µFCPGA – Socket M (Socket479)
- 479balls µFCBGA – Soldered on mainboard
Instruction set Yonah: RISC – IA32 – XD – MMX – SSE – SSE2 – SSE3
Cache : L1 64KB, L2 2MB (Independent L2 Cache)

Core 2 Solo/Duo

Support CPU Speeds: 1.60 GHz – 2.93 GHz
Implementation Desktop
- 775lands FC-LGA4 – Socket775
Implementation Server (Xeon Brand)
- 775lands FC-LGA4 – Socket775 (Uniprocessor Socket775)
- 771lands FC-LGA4 – SocketJ (LGA771, Dualprocessor Socket J และ Multiprocessor Socket J)
Implementation Mobile
- 478pins µFCPGA – Socket M (Socket479)
– 479balls µFCBGA – Soldered on mainboard
Support FSB Speeds: QDR FSB 133Mhz – 166MHz ~ FSB 533Mhz – 800Mhz

Instruction set Merom: RISC – IA32 – EM64T - XD – MMX – SSE – SSE2 – SSE3 – SSSE3
Cache : L1 64KB, L2 2MB – 4MB (Intel Advanced Smart Cache, Maximum 8MB in Xeon Brand)
New Technology, Intel Advanced Smart Cache, Intel Wide Dynamic Execution, Intel Intelligent Power Capability, Intel Smart Memory Access และ Intel Advanced Digital Media Boost เป็นต้น

อ้างอิงจาก


Wikipedia : Intel Core

Wikipedia : Intel Core 2
Wikipedia : Intel Core Microarchitecture
The BalusC Server : Intel Core
The BalusC Server : Intel Core 2
Directron.com : Understanding System Memory and CPU speeds: A layman’s guide to the Front Side Bus (FSB)
Intel : Inside Intel Core™ Microarchitecture Setting New Standards for Energy-Efficient Performance

http://www.thaicyberpoint.com/ford/blog/id/257/

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิธีป้องกันและกำจัดไวรัส

ข้อสังเกตุไวรัส

1. ไฟล์ที่เปงไวรัส ส่วนใหญ่ เปงไฟล์เล็กๆ เพื่อเวลาปล่อย จะได้กระจายง่าย
2. ไอค่อนจะหน้าตาแปลกๆ
3. ส่วนใหญ่ จะมีการหลอกให้เรา ดับเบิลคลิ๊ก ไฟล์ .exe ระวังให้มาก ไม่น่าไว้จัย ถ้าคลิ๊กเเร้วผิดปกติ รับรองตัวนั้นเปงไวรัสเเน่
4. มันจะเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนไอค่อน ทำให้เเสกนไวรัสไม่รุจัก
5. พวก คิดอะไรพวกนี้ จะมีการหลอกล่อ เก่งมากมาย 55+
6. ระวังให้ดีหละคับ

ข้อเเนะนำ

1. ปิดออโต้รัน (ดูได้จากบอดคอม)
2. อยากคลิ๊กไฟล์แปลกๆ ที่ไม่ไว้วางจัย ส่วนมากจะหลอกมา เปลี่ยนไอค่อน เปลี่ยน ชื่อไฟล์ เเต่เปน .exe ระวังด้วย
3. ถ้ารุว่าโดนไวรัสเข้าจิง มาโพสถามได้ ที่บอดคอม มีคนตอบอยู่ หรือ ดูได้จาก ctrl + alt +del ดูว่าอารายแปลกปลอม ปิดมันไปก่อน
4. ถ้าจะเเสกนไวรัส เเนะนำให้เเสกน ใน safe mode อ่ะนะ วิธีเข้าก้อง่ายๆ กด f8 ย้ำ ๆ หน่อย ตอนบูทเครื่อง น้า
5. คิดออกระ คิดตั้งนาน อิอิ ข้อนี้ ถ้าสงสัยว่า เราโดน ร้า ทำยังไงดีหว่า ทำไงก้ไม่ได้ เเสกนก้อเเร้ว ทำอะไรก้อเเร้ว เเนะนำให้ system restore อ่ะนะคับ
วิธีเข้าก้อไม่ได้ยากอารายเล้ย start > run > %SystemRoot%\system32\restore\rstrui.exe > เเล้ว Next > เลือกเวลา นะคับ ให้ย้อนกลับไปก่อนวันที่จะเกิดอาการ > เเล้วมันจะทำการรีเครื่องนะคับ ไม่ต้องตกจัย เท่านี้ ก้อเสดเเร้วคับ อาจจะหายก้อได้ ถ้ามันทำลายไฟล์วินโด้น้า
6. ลงวินโด้ใหม่ ก้อหาย บางส่วนนะคับ (พวกร้านซ่อมชอบจิงๆ ลงวินโด้ใหม่ เพราะว่า เค้าขี้เกียดเเก้)
7. เจอระ วิธีป้องกันไม่ให้เข้าไปยุ่งกะ registy ของเรา http://www.bcoms.net/tipcomputer/detail.asp?id=2019 นี่เลยงับ ลองเข้าไปทำดู
8. แล้วก้ออันนี้ nod32 hot fix นะคับ ส่วนใหญ่จะเเก้ได้หมดเลย http://www.nod32th.com/component/option,com_docman/task,cat_view/gid,67/Itemid,290/lang,th/ โหลดมาคลิ๊กทีละตัวก้อได้ ถ้าไม่เเน่จัยว่าอันไหนมัน คืออาการของเรานะคับ
9. สร้างไฟล์ autorun.inf ไว้ใน เเฟชไดร์ทนะคับหรือว่า ไดร์ทต่างๆของเครื่อง เเล้วคลิ๊กขวา > properties > แล้วติ๊ก read only ไว้นะคับ เท่านี้ ไวรัส มันก้อมาทับไม่ได้เเล้วหละคับ เเล้วก้อซ่อนไว้ด้วยก้อดี จะได้ไม่เกะกะงับ

อาการของคนติดไวรัส

1. คอมทำงานช้าลง
2. ใน processes มีอะไรไม่รุทำงานอยู่ เเล้วดันไปกินซีพียู ซะนั้น
3. ทำงานผิดปกติ อย่างเเรง
4. มักทำงานติดขัดๆ โดยไม่รุสาเหตุ
5. ครัย มีอาการขั้นต้น ให้คิดว่า เราโดน ซะเเร้วหละคับ

อาการของพวกที่โดนสปายเเวร์

1. ส่วนใหญ่จะ มี pop up โฆษณา เด้งขึ้นมาบ่อย
2. หน้าเวปชอบค้างๆๆ บ่อยๆ
3. ส่วนมากจะเกี่ยวกะ โปรแกรม Internet expoler อ่ะนะคับ
4. หันมาใช้ หมาย่าง ( Fire Fox ) ดีก่านะคับ

เเสกนไวรัสเเนะนำ

1. kaspersky
2. nod32
3. bitdefender
4. ......


แสกนสปายเเวร์เเนะนำนะคับ

1. ad-aware
2. XoftSpySE
3. ......

การติดตั้งโปรแกรมประยุกต์ Microsoft 2003

ใช้ข้อมูลในส่วนนี้เพื่อติดตั้งหรือซ่อมแซมและติดตั้งคุณลักษณะแต่ละอย่างใน Office 2003 ใหม่
กลับไปด้านบน
วิธีการติดตั้งคุณลักษณะแต่ละอย่างใน Office 2003
โดยทั่วไปแล้ว เมื่อคุณพยายามใช้คุณลักษณะที่ไม่ได้ติดตั้งอยู่เป็นครั้งแรก Office 2003 จะติดตั้งคุณลักษณะดังกล่าวโดยอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น หากคุณชี้ไปยัง รับข้อมูลภายนอก บนเมนู ข้อมูล ใน Microsoft Office Excel 2003 แล้วคุณคลิก เรียกใช้การสอบถามฐานข้อมูล Microsoft Query จะได้รับการติดตั้งโดยอัตโนมัติ

หากคุณลักษณะที่คุณต้องการไม่ได้รับการติดตั้งโดยอัตโนมัติใน Office 2003 ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
ปิดโปรแกรมทั้งหมด
คลิกที่ เริ่ม แล้วคลิก แผงควบคุม
คลิกสองครั้งที่ เพิ่มหรือเอาโปรแกรมออก คลิก Microsoft Office 2003 แล้วคลิก เปลี่ยน
ในกล่องโต้ตอบ การตั้งค่า Microsoft Office 2003 ให้คลิก เพิ่มหรือเอาคุณลักษณะออก แล้วคลิก ถัดไป
คลิกเพื่อเลือกกล่องกาเครื่องหมายของคอมโพเนนต์ที่คุณต้องการติดตั้ง
คลิกเพื่อเลือกกล่องกาเครื่องหมาย เลือกการกำหนดเองขั้นสูงของโปรแกรมประยุกต์ แล้วคลิก ถัดไป
ขยายผลิตภัณฑ์ที่คุณต้องการกำหนดเอง คลิกไอคอนที่อยู่ทางซ้ายของชื่อคุณลักษณะ และคลิกสถานะการติดตั้งที่คุณต้องการ ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการเอาคุณลักษณะออก ให้กำหนดเป็น ไม่พร้อมใช้งาน เมื่อต้องการติดตั้งคุณลักษณะในทันที ให้คลิก เรียกใช้จากคอมพิวเตอร์ของฉัน หรือคลิก ติดตั้งเมื่อใช้ครั้งแรก หากคุณต้องการติดตั้งคุณลักษณะเมื่อมีการร้องขอในครั้งแรก
เมื่อคุณเปลี่ยนสถานะการติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว คลิก ปรับปรุง
กลับไปด้านบน
วิธีการซ่อมแซมหรือติดตั้งโปรแกรม Office ใหม่
กระบวนการนี้จะตรวจหาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรม Microsoft Office ที่ติดตั้งไว้ เช่น การตั้งค่ารีจิสทรีและแฟ้มการติดตั้งหายไป กระบวนการนี้จะไม่ซ่อมแซมแฟ้มส่วนบุคคล เช่น แผ่นงานหรือแม่แบบ

วิธีการสองวิธีต่อไปนี้จะอธิบายวิธีการใช้ เครื่องมือตรวจหาและซ่อมแซมเพื่อตรวจหาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโปรแกรมที่ติดตั้งไว้
วิธีที่ 1: เรียกใช้ 'ตรวจหาและซ่อมแซม' บนเมนูวิธีใช้
บนเมนู วิธีใช้ ในโปรแกรม Office ใดๆ คลิก ตรวจหาและซ่อมแซม
คลิก เริ่ม
หมายเหตุ เมื่อต้องการคืนค่าทางลัดโปรแกรมเป็นเมนู เริ่ม ให้ตรวจสอบว่าได้เลือกกล่องกาเครื่องหมาย คืนค่าทางลัดของฉันในขณะซ่อมแซม ไว้แล้ว
วิธีที่ 2: เรียกใช้เครื่องมือตรวจหาและซ่อมแซม จาก เพิ่มหรือเอาโปรแกรมออก
คลิกที่ เริ่ม แล้วคลิก แผงควบคุม
คลิกสองครั้งที่ เพิ่มหรือเอาโปรแกรมออก คลิก Microsoft Office 2003 แล้วคลิก เปลี่ยน
ในกล่องโต้ตอบ การตั้งค่า Microsoft Office 2003 ให้คลิก ติดตั้งใหม่หรือซ่อมแซม แล้วคลิก ถัดไป
คลิก ติดตั้ง Office ใหม่ หรือ ตรวจหาและซ่อมแซมข้อผิดพลาดในการติดตั้ง Office ของฉัน แล้วคลิก ติดตั้ง

หมายเหตุ หากคุณเลือกตรวจหาและแก้ไขปัญหาในการติดตั้ง Microsoft Office ของคุณ ให้คลิกเพื่อเลือกกล่องกาเครื่องหมาย คืนค่าทางลัดเมนู 'เริ่ม' ของฉัน เพื่อสร้างทางลัดของ Microsoft Office ใหม่

วิธีการติดตั้งไดร์เวอร์

วิธีติดตั้งไดรเวอร์
สำหรับวิธีการติดตั้งไดรเวอร์สำหรับอุปกรณ์ต่างๆ นั้น อาจแบ่งวิธีในการติดตั้งได้เป็น 3 วีที่แตกต่างกันในเรื่องขั้นตอน และโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง คือ
{ ให้ Windows ตรวจสอบ และค้นหาให้เองอัตโนมัติตอนบู๊ตเครื่อง..........เนื้อหา

{ เรียกใช้ Add New Hardware Wizard ช่วยในการติดตั้งไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์..........เนื้อหา

{ ใช้โปรแกรมติดตั้งแบบสำเร็จรูปที่ให้มาพร้อมกับอุปกรณ์ ซึ่งในปัจจุบันมักจะมาเป็นแผ่นซีดี ..........เนื้อหา


ติดตั้งไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ

หลังจากติดตั้งระบบปฏิบัติการเรียบร้อยแล้ว อุปกรณ์หลักส่วนใหญ่อย่าง คีย์บอร์ด เมาส์ ไดรว์ซีดีรอม ฮาร์ดดิสก์ หรือฟล็อปปี้ดิสก์ จะพร้อมให้ใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องอาศัยไดรเวอร์หรือโปรแกรมเพิ่มเติมทั้งนี้ก็ด้วยคุณสมบัติ Plug and Play (PnP) ของอุปกรณ์ที่สามารถแจ้งรายละเอียดต่างๆ ของตัวเองแก่ BIOS และระบบปฏิบัติการได้ รวมทั้งความสามรรถของระบบปฏิบัติการณ์รุ่นใหม่ ๆ ที่ช่วยตรวจสอบและติดตั้งไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ได้โดยอัตโนมัติ แต่เนื่องจากอุปกรณ์ต่างรุ่นจากต่างผู้ผลิตกันมักจะมีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างกันออกไปด้วย ทั้งระบบปฏิบัติการเองก็คงไม่สามารถตระเตรียมมไดรเวอร์มาให้กับอุปกรณ์ทุกร่นที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ จึงจำเป็นต้องใช้ไดรเวอร์จากบริษัทผู้ผลิตโดยตรงที่มาพร้อมกับอุปกรณ์แทนดังนั้น ในบทนี้จึงขออธิบายขั้นตอน และวิธีการในการติดตั้งไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน



ลำดับในการติดตั้งไดรเวอร์
สำหรับการบู๊ตเครื่องครั้งแรกภายหลังการติดตั้ง Windows เสร็จใหม่ ๆ จะมีการตรวจพบอุปกรณ์ต่างๆ บนเมนบอร์ด เช่น ชิปเซ็ต พอร์ต USB ฯลฯ และติดตั้งไดรเวอร์ให้โดยอัตโนมัติ ซึ่ง Windows อาจจะถามหาแผ่นไดรเวอร์สำหรับอุปกรณ์บางตัวด้วย โดยที่คุณอาจจะตอบปฏิเสธการติดตั้งไดรเวอร์ไปก่อนแล้วมาติดตั้งด้วยตัวเองในภายหลังก็ได้ ตามขั้นตอนดังรูปในหน้าถัดไป



การติดตั้งไดรเวอร์จะเริ่มจากไดรเวอร์สำหรับเมนบอร์ดก่อน (ถ้ามี) เนื่องจากเป็นตัวกลางหลักที่เชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ อีกที จึงต้องจัดการให้เรียบร้อยก่อน ไดรเวอร์สำหรับเมนบอร์ดนี้หมายรวมถึงไดรเวอร์สำหรับอุปกรณ์พิเศษอื่น ๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ดด้วย จากนั้นบู๊ตเครื่อง 1 ครั้งเพื่อให้ไดรเวอร์ถูกโหลดและทำงานเสียก่อนจึงค่อยติดตั้งไดรเวอร์อื่น ๆ ต่อ
ลำดับถัดมาที่ควรจะติดตั้งคือไดรเวอร์การ์ดแสดงผล ซึ่งเป็นไดรเวอร์ที่จำเป็นรองจากเมนบอร์ดพร้อมทั้งสามารถติดตั้งไดรเวอร์ของจอภาพต่อเนื่องไปด้วยก็ได้ หลังจากติดตั้งเสร็จ บู๊ตเครื่องและปรับตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าจอเรียบร้อยแล้ว จึงค่อยติดตั้งไดรเวอร์อุปกรณ์ตัวอื่น ๆ ต่อไปโดยจะติดตั้งตัวไหนก่อนหลังอย่างไรก็ไม่มีปัญญาแล้ว

วิธีติดตั้งวินโดว์ XP

การติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows XP โดยปกติ จะสามารถทำได้ 2 แบบคือ การติดตั้งโดยการอัพเกรดจาก Windows ตัวเดิม หรือทำการติดตั้งใหม่เลยทั้งหมด สำหรับตัวอย่างในที่นี้ จะขอแนะนำวิธีการ ขั้นตอนการติดตั้ง Windows XP แบบลงใหม่ทั้งหมด ซึ่งความเห็นส่วนตัว น่าจะมีปัญหาในการใช้งานน้อยกว่าแบบอัพเกรดค่ะ

วิธีการติดตั้ง Windows XP ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบดังนี้
1. ติดตั้งแบบอัพเกรดจาก Windows ตัวเดิม โดยใส่แผ่น CD และเลือกติดตั้งจาก CD นั้นได้เลย
2. ติดตั้งโดยการบูตเครื่องใหม่จาก CD ของ Windows XP Setup และทำการติดตั้ง
3. ติดตั้งจากฮาร์ดดิสก์ โดยทำการ copy ไฟล์ทั้งหมดจาก CD ไปเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ ก่อนทำการติดตั้ง

ในการแบ่งพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ แนะนำให้ทำการวางแผนประมาณขนาดพื้นที่ไว้ล่วงหน้าด้วย โดยทั่วไปก็ไม่ควรจะใช้พื้นที่ต่ำกว่า 3G. และเนื่องจากระบบ Windows XP สามารถที่จะสร้างเมนู Multi Boot ได้หลังจากที่ติดตั้งไปแล้ว โดยยังสามารถเลือกเมนูว่า จะเรียก Windows ตัวเดิมหรือจะเรียก Windows XP ก็ได้ ดังนั้น หลาย ๆ ท่านมักจะแบ่งพื้นที่ไว้ลง Windows 98 ที่ Drive C: ประมาณ 5G. และเผื่อไว้สำหรับ Windows XP ที่ Drive D: อีกประมาณ 5G. ที่เหลือก็จะเป็น Drive E: สำหรับเก็บข้อมูลอื่น ๆ ทั่วไป แต่ถ้าหากลง Windows เพียงแค่ตัวเดียว ก็ไม่จำเป็นค่ะ
การตั้งค่าใน BIOS ก่อนทำการติดตั้ง Windows XP ใหม่จะต้องทำการ Disable Virus Protection ใน BIOS ซะก่อน เพราะว่าเมนบอร์ดบางรุ่นจะมีการป้องกัน Virus โดยการป้องกันการเขียนทับในส่วนของ Boot Area ของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเท่าที่เคยเห็นมา เครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะมีให้เลือกตั้งค่านี้อยู่แล้ว ถ้าหากเครื่องของใครไม่มีก็ไม่ต้องตกใจ เพราะเมนบอร์ด บางรุ่นอาจจะไม่มีก็ได้ วิธีการก็คือ
เริ่มจากการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ขณะที่เครื่องกำลังทำ Memory Test หรือนับ RAM อยู่นั่นแหละ ด้านล่างซ้ายมือจะมีคำว่า Press DEL to enter SETUP ให้กดปุ่ม DEL บน Keyboard เพื่อเข้าสู่เมนูของ Bios Setup (แล้วแต่เมนบอร์ด ด้วยบางทีอาจจะใช้ปุ่มอื่น ๆ สำหรับการเข้า Bios Setup ก็ได้ลองดูให้ดี ๆ) จากนี้ก็แล้วแต่ว่าเครื่องของใคร จะขึ้นเมนูอย่างไร คงจะไม่เหมือนกันแต่ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก จากนั้นให้มองหาเมนู Bios Features Setup ส่วนใหญ่จะเป็นเมนูที่สอง ใช้ปุ่มลูกศรเลื่อนแถบลงมาแล้วกด ENTER ถ้าใช่จะมีเมนูของ Virus Warning หรือ Virus Protection อะไรทำนองนี้ ถ้าหากเป็น Enable อยู่ละก็ให้เปลี่ยนเป็น Disable โดยเลื่อนแถบแสงไปที่เมนูที่เราต้องการใช้ปุ่ม PageUp หรือ PageDown สำหรับเปลี่ยนค่าให้เป็น Disable

กดปุ่ม ESC เพื่อกลับไปเมนูหลักของ Bios Setup มองหาเมนูของ SAVE TO CMOS AND EXIT หรืออะไรทำนองนี้เลื่อนแถบแสงไปเลยแล้วกด ENTER ถ้าหากเครื่องถามว่าจะ Save หรือไม่ก็ตอบ Y ได้เลย หลังจากนี้เครื่องจะทำการ Reboot ใหม่อีกครั้ง ใส่แผ่น Startup Disk ที่เราทำไว้ตามขั้นตอนแรกรอไว้ก่อนเลย
มาดูขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้น การติดตั้ง Windows XP กันเลยค่ะ
เริ่มต้น โดยการเซ็ตให้บูตเครื่องจาก CD-Rom Drive ก่อน โดยการเข้าไปปรับตั้งค่าใน bios ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเลือกลำดับการบูต ให้เลือก CD-Rom Drive เป็นตัวแรกครับ (ถ้าหากเป็นแบบนี้อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเปลี่ยนอะไร)



้ ทำการปรับเครื่อง เพื่อให้บูตจาก CD-Rom ก่อน จากนั้นก็บูตเครื่องจากแผ่นซีดี Windows XP Setup โดยเมื่อบูตเครื่องมา จะมีข้อความให้กดปุ่มอะไรก็ได้ เพื่อบูตจากซีดีคะ ก็เคาะ Enter ไปทีนึงก่อน

โปรแกรมจะทำการตรวจสอบและเช็คข้อมูลอยู่พักนึง รอจนขึ้นหน้าจอถัดไปค่ะ

เข้ามาสู่หน้า Welcome to Setup กดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

หน้าของ Licensing Agreement กดปุ่ม F8 เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

ทำการเลือก Drive ของฮาร์ดดิสก์ที่จะลง Windows XP แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

เลือกชนิดของระบบ FAT ที่จะใช้งานกับ Windows XP หากต้องการใช้ระบบ NTFS ก็เลือกที่ข้อบน แต่ถ้าจะใช้เป็น FAT32 หรือของเดิม ก็เลือกข้อสุดท้ายได้เลย (no changes) ถ้าไม่อยากวุ่นวาย แนะนำให้เลือก FAT32 นะคะ แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

โปรแกรมจะเริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้ง รอสักครู่ค่ะ

หลังจากนั้น โปรแกรมจะทำการ Restart เครื่องใหม่อีกครั้ง (ให้ใส่แผ่นซีดีไว้ในเครื่องแบบนั้น แต่ไม่ต้องกดปุ่มใด ๆ เมื่อบูตเครื่องใหม่ ปล่อยให้โปรแกรมทำงานไปเองได้เลยค่ะ)

หลังจากบูตเครื่องมาคราวนี้ จะเริ่มเห็นหน้าตาของ Windows XP แล้วค่ะ รอสักครู่

โปรแกรมจะเริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้งต่าง ๆ ก็รอไปเรื่อย ๆ ค่ะ

จะมีเมนูของการให้เลือก Regional and Language ให้กดปุ่ม Next ไปเลยค่ะ ยังไม่ต้องตั้งค่าอะไรในช่วงนี้

ใส่ชื่อและบริษัทของผู้ใช้งาน ใส่เป็นอะไรก็ได้ แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

ทำการใส่ Product Key (จะมีในด้านหลังของแผ่นซีดี) แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

หน้าจอให้ใส่ Password ของ Admin ให้ปล่อยว่าง ๆ ไว้แบบนี้แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

เลือก Time Zone ให้เป็นของไทย (GMT+07:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

รอสักพัก จนกระทั่งขั้นตอนต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อย ก็พร้อมแล้วสำหรับการเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows XP ครับ จากนั้น จะมีการบูตเครื่องใหม่อีกครั้ง เพื่อเริ่มต้นการใช้งานจริง ๆ

บูตเครื่องใหม่คราวนี้ อาจจะมีเมนูแปลก ๆ แบบนี้ เป็นการเลือกว่า เราจะบูตจากระบบ Windows ตัวเก่าหรือจาก Windows XP ครับ ก็เลือกที่ Microsoft Windows XP Professional ครับ ถ้าของใครไม่มีเมนูนี้ก็ไม่เป็นไรนะคะ

เริ่มต้นบูตเครื่อง เข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows XP แล้วค่ะ

ในครั้งแรก อาจจะมีการถามเรื่องของขนาดหน้าจอที่ใช้งาน กด OK เพื่อให้ระบบตั้งขนาดหน้าจอให้เราได้เลยค่ะ นอกจากนี้ ถ้าหากเครื่องไหนมีการถาม การติดตั้งค่าต่าง ๆ ก็กดเลือกที่ Next หรือ Later ไปก่อน บางครั้งอาจจะมีให้เราทำการสร้าง Username อย่างน้อย 1 ฃื่อก่อนเข้าใช้งาน ก็ใส่ชื่อของคุณเข้าไปได้เลย

วิธีติดตั้งวินโดว์ XP

การติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows XP โดยปกติ จะสามารถทำได้ 2 แบบคือ การติดตั้งโดยการอัพเกรดจาก Windows ตัวเดิม หรือทำการติดตั้งใหม่เลยทั้งหมด สำหรับตัวอย่างในที่นี้ จะขอแนะนำวิธีการ ขั้นตอนการติดตั้ง Windows XP แบบลงใหม่ทั้งหมด ซึ่งความเห็นส่วนตัว น่าจะมีปัญหาในการใช้งานน้อยกว่าแบบอัพเกรดค่ะ

วิธีการติดตั้ง Windows XP ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบดังนี้
1. ติดตั้งแบบอัพเกรดจาก Windows ตัวเดิม โดยใส่แผ่น CD และเลือกติดตั้งจาก CD นั้นได้เลย
2. ติดตั้งโดยการบูตเครื่องใหม่จาก CD ของ Windows XP Setup และทำการติดตั้ง
3. ติดตั้งจากฮาร์ดดิสก์ โดยทำการ copy ไฟล์ทั้งหมดจาก CD ไปเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ ก่อนทำการติดตั้ง

ในการแบ่งพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ แนะนำให้ทำการวางแผนประมาณขนาดพื้นที่ไว้ล่วงหน้าด้วย โดยทั่วไปก็ไม่ควรจะใช้พื้นที่ต่ำกว่า 3G. และเนื่องจากระบบ Windows XP สามารถที่จะสร้างเมนู Multi Boot ได้หลังจากที่ติดตั้งไปแล้ว โดยยังสามารถเลือกเมนูว่า จะเรียก Windows ตัวเดิมหรือจะเรียก Windows XP ก็ได้ ดังนั้น หลาย ๆ ท่านมักจะแบ่งพื้นที่ไว้ลง Windows 98 ที่ Drive C: ประมาณ 5G. และเผื่อไว้สำหรับ Windows XP ที่ Drive D: อีกประมาณ 5G. ที่เหลือก็จะเป็น Drive E: สำหรับเก็บข้อมูลอื่น ๆ ทั่วไป แต่ถ้าหากลง Windows เพียงแค่ตัวเดียว ก็ไม่จำเป็นค่ะ
การตั้งค่าใน BIOS ก่อนทำการติดตั้ง Windows XP ใหม่จะต้องทำการ Disable Virus Protection ใน BIOS ซะก่อน เพราะว่าเมนบอร์ดบางรุ่นจะมีการป้องกัน Virus โดยการป้องกันการเขียนทับในส่วนของ Boot Area ของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเท่าที่เคยเห็นมา เครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะมีให้เลือกตั้งค่านี้อยู่แล้ว ถ้าหากเครื่องของใครไม่มีก็ไม่ต้องตกใจ เพราะเมนบอร์ด บางรุ่นอาจจะไม่มีก็ได้ วิธีการก็คือ
เริ่มจากการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ขณะที่เครื่องกำลังทำ Memory Test หรือนับ RAM อยู่นั่นแหละ ด้านล่างซ้ายมือจะมีคำว่า Press DEL to enter SETUP ให้กดปุ่ม DEL บน Keyboard เพื่อเข้าสู่เมนูของ Bios Setup (แล้วแต่เมนบอร์ด ด้วยบางทีอาจจะใช้ปุ่มอื่น ๆ สำหรับการเข้า Bios Setup ก็ได้ลองดูให้ดี ๆ) จากนี้ก็แล้วแต่ว่าเครื่องของใคร จะขึ้นเมนูอย่างไร คงจะไม่เหมือนกันแต่ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก จากนั้นให้มองหาเมนู Bios Features Setup ส่วนใหญ่จะเป็นเมนูที่สอง ใช้ปุ่มลูกศรเลื่อนแถบลงมาแล้วกด ENTER ถ้าใช่จะมีเมนูของ Virus Warning หรือ Virus Protection อะไรทำนองนี้ ถ้าหากเป็น Enable อยู่ละก็ให้เปลี่ยนเป็น Disable โดยเลื่อนแถบแสงไปที่เมนูที่เราต้องการใช้ปุ่ม PageUp หรือ PageDown สำหรับเปลี่ยนค่าให้เป็น Disable

กดปุ่ม ESC เพื่อกลับไปเมนูหลักของ Bios Setup มองหาเมนูของ SAVE TO CMOS AND EXIT หรืออะไรทำนองนี้เลื่อนแถบแสงไปเลยแล้วกด ENTER ถ้าหากเครื่องถามว่าจะ Save หรือไม่ก็ตอบ Y ได้เลย หลังจากนี้เครื่องจะทำการ Reboot ใหม่อีกครั้ง ใส่แผ่น Startup Disk ที่เราทำไว้ตามขั้นตอนแรกรอไว้ก่อนเลย
มาดูขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้น การติดตั้ง Windows XP กันเลยค่ะ
เริ่มต้น โดยการเซ็ตให้บูตเครื่องจาก CD-Rom Drive ก่อน โดยการเข้าไปปรับตั้งค่าใน bios ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเลือกลำดับการบูต ให้เลือก CD-Rom Drive เป็นตัวแรกครับ (ถ้าหากเป็นแบบนี้อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเปลี่ยนอะไร)



้ ทำการปรับเครื่อง เพื่อให้บูตจาก CD-Rom ก่อน จากนั้นก็บูตเครื่องจากแผ่นซีดี Windows XP Setup โดยเมื่อบูตเครื่องมา จะมีข้อความให้กดปุ่มอะไรก็ได้ เพื่อบูตจากซีดีคะ ก็เคาะ Enter ไปทีนึงก่อน

โปรแกรมจะทำการตรวจสอบและเช็คข้อมูลอยู่พักนึง รอจนขึ้นหน้าจอถัดไปค่ะ

เข้ามาสู่หน้า Welcome to Setup กดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

หน้าของ Licensing Agreement กดปุ่ม F8 เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

ทำการเลือก Drive ของฮาร์ดดิสก์ที่จะลง Windows XP แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

เลือกชนิดของระบบ FAT ที่จะใช้งานกับ Windows XP หากต้องการใช้ระบบ NTFS ก็เลือกที่ข้อบน แต่ถ้าจะใช้เป็น FAT32 หรือของเดิม ก็เลือกข้อสุดท้ายได้เลย (no changes) ถ้าไม่อยากวุ่นวาย แนะนำให้เลือก FAT32 นะคะ แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

โปรแกรมจะเริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้ง รอสักครู่ค่ะ

หลังจากนั้น โปรแกรมจะทำการ Restart เครื่องใหม่อีกครั้ง (ให้ใส่แผ่นซีดีไว้ในเครื่องแบบนั้น แต่ไม่ต้องกดปุ่มใด ๆ เมื่อบูตเครื่องใหม่ ปล่อยให้โปรแกรมทำงานไปเองได้เลยค่ะ)

หลังจากบูตเครื่องมาคราวนี้ จะเริ่มเห็นหน้าตาของ Windows XP แล้วค่ะ รอสักครู่

โปรแกรมจะเริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้งต่าง ๆ ก็รอไปเรื่อย ๆ ค่ะ

จะมีเมนูของการให้เลือก Regional and Language ให้กดปุ่ม Next ไปเลยค่ะ ยังไม่ต้องตั้งค่าอะไรในช่วงนี้

ใส่ชื่อและบริษัทของผู้ใช้งาน ใส่เป็นอะไรก็ได้ แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

ทำการใส่ Product Key (จะมีในด้านหลังของแผ่นซีดี) แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

หน้าจอให้ใส่ Password ของ Admin ให้ปล่อยว่าง ๆ ไว้แบบนี้แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

เลือก Time Zone ให้เป็นของไทย (GMT+07:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

รอสักพัก จนกระทั่งขั้นตอนต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อย ก็พร้อมแล้วสำหรับการเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows XP ครับ จากนั้น จะมีการบูตเครื่องใหม่อีกครั้ง เพื่อเริ่มต้นการใช้งานจริง ๆ

บูตเครื่องใหม่คราวนี้ อาจจะมีเมนูแปลก ๆ แบบนี้ เป็นการเลือกว่า เราจะบูตจากระบบ Windows ตัวเก่าหรือจาก Windows XP ครับ ก็เลือกที่ Microsoft Windows XP Professional ครับ ถ้าของใครไม่มีเมนูนี้ก็ไม่เป็นไรนะคะ

เริ่มต้นบูตเครื่อง เข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows XP แล้วค่ะ

ในครั้งแรก อาจจะมีการถามเรื่องของขนาดหน้าจอที่ใช้งาน กด OK เพื่อให้ระบบตั้งขนาดหน้าจอให้เราได้เลยค่ะ นอกจากนี้ ถ้าหากเครื่องไหนมีการถาม การติดตั้งค่าต่าง ๆ ก็กดเลือกที่ Next หรือ Later ไปก่อน บางครั้งอาจจะมีให้เราทำการสร้าง Username อย่างน้อย 1 ฃื่อก่อนเข้าใช้งาน ก็ใส่ชื่อของคุณเข้าไปได้เลย
[แก้ไข] ลักษณะและคำอธิบาย
โครงสร้างหลักๆ ของ BIOS นั้นมีส่วนประกอบหลักๆ อยู่สองอย่างคือ

ตัวโปรแกรมของไบออส จะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำแบบ ROM เพราะจำได้นานไม่มีลืมเหมือนกับ RAM ทำให้เราสามารถเรียกใช้ BIOS ได้ทันทีเมื่อเปิดเครื่อง แต่เราไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปใน ROM ได้
ส่วนตัวข้อมูลจะถูกเก็บไว้ที่ CMOS RAM เป็นหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่สามารถเขียนไฟล์ทับได้ คล้ายกับ RAM แต่ต้องใช้ไฟเลี้ยง ถ้าไม่มีไฟ ระบบจะลืมข้อมูลทันที โดยไฟที่ว่านี้มาจากก้อนแบตเตอรี่เล็กติดอยู่บนเมนบอร์ด ถ้าแบตเตอรี่นี้หมด เครื่องก็จะมีปัญหา
การเข้าสู่ BIOS Setup Mode

สำหรับวิธีการที่จะเข้าไปตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ได้นั้น จะขึ้นอยู่กับระบบของแต่ละเครื่องด้วย โดยปกติเมื่อเราทำการเปิดสวิทช์ไฟของเครื่องคอมพิวเตอร์ BIOS ก็จะเริ่มทำงานโดยทำการทดสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ก่อนที่จะเรียกใช้งานระบบ DOS จากแผ่น Floppy Disk หรือ Hard Disk ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เราสามารถเข้าไปทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ได้โดยกด Key ต่าง ๆ เช่น DEL, ESC CTRL-ESC, CTRL-ALT-ESC ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละเครื่องจะตั้งไว้อย่างไร ส่วนใหญ่ จะมีข้อความบอกเช่น "Press DEL Key to Enter BIOS Setup" เป็นต้น

ปุ่ม Key ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับการ Setup BIOS ส่วนใหญ่จะเป็นแบบเดียวกัน โดยจะมีรูปแบบทั่วไปดังนี้

Up, Down, Left, Right ใช้สำหรับเลื่อนเมนูตามต้องการ
Page Up, Page Down ใช้สำหรับเพิ่ม ลบ หรือเปลี่ยนแปลงค่าตามต้องการ
ESC Key ใช้สำหรับย้อนกลับไปเมนูแรกก่อนหน้านั้น
Enter Key ใช้สำหรับเลือกที่เมนูตามต้องการ
F1, F2 ถึง F10 ใช้สำหรับการทำรายการตามที่ระบุในเมนู BIOS Setup
[แก้ไข] หน้าที่และความสำคัญ
BIOS (Basic Input/Output System) คือ Chip ROM (EPROM : Erasable Programmable Read-Only Memory) Bios เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุม Hardware ในการ Boot คอมพิวเตอร์ โดยทุกครั้งเมื่อเราเปลี่ยนเครื่องอ่านข้อมูล ไม่ว่า Floppy Disk Drive , Hard Disk Drive และ Cd-Rom Drive โดยเฉพาะ Hard Disk เมื่อต่อเพิ่มหรือถอดออก จะต้องบอกให้ Bios รับรู้เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการ Boot เครื่อง เพื่อเข้าสู่โปรแกรม Windows หรือ OS ต่อไป

ขั้นตอนการทำงานของ BIOS

เมื่อเปิดเครื่อง BIOS จะตรวจสอบอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นต่อการใช้งาน เช่น Keyboard, Disk Drive, Monitor, Memory ฯลฯ หากมีอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งทำงานไม่ถูกต้อง จะแจ้งข้อผิดพลาดให้ทราบทั้งในลักษณะข้อความ (หากจอภาพทำงานได้)และเสียง beep หากจอภาพทำงานไม่ได้
โหลดค่ากำหนดเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆขึ้นมาใช้งาน โดยค่าต่างๆเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ใน CMOS ซึ่งผู้ใช้สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยผ่าน SETUP
โหลดระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งไว้ในดิสก์ขึ้นมาทำงาน
เมื่อระบบปฏิบัติการเริ่มทำงาน นั่นคือคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะอยู่ในสภาพที่พร้อมสำหรับการใช้งานแล้ว ส่วน BIOS จะทำหน้าที่ให้บริการต่างๆต่อระบบการปฏิบัติการอยู่เบื้องหลัง เช่น การอ่าน-เขียนข้อมูลจากดิสก์, เปิดจอภาพเมื่อผู้ใช้ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานๆ ฯลฯ
เมื่อต้องการปิดเครื่อง BIOS จะปิดการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆทั้งหมดรวมถึงตัดกระแสไฟที่จ่ายให้ power supply ด้วย ค่ากำหนดต่างๆที่เก็บไว้ใน CMOS จะไม่หายไป เมื่อผู้ใช้เปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ การทำงานจะวนรอบกลับไปยังขั้นตอนที่ 1 ทันที ดังจะเห็นได้ว่าการทำงานของ BIOS มีผลต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา หาก BIOS ได้รับการปรับตั้งไม่ถูกต้อง หรือปรับตั้งไว้ไม่ดี จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นทำงานได้ไม่ถูกต้อง, ไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือแม้แต่ใช้งานไม่ได้เลยก็เป็นได้
POST ขั้นตอนสำคัญของการเริ่มต้นระบบ


AWARD BIOS
AMI BIOSเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ BIOS จะเข้าสู่ขั้นตอนที่เรียกว่า POST (Power-On Self Test) ซึ่งเป็นการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีในคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเอง สาเหตุที่ต้องตรวจสอบก่อนก็เพราะคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีอุปกรณ์ไม่เหมือนกัน อีกทั้งผู้ใช้ยังสามารถเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์เหล่านี้ได้โดยอิสระอีกด้วย ดังนั้นย่อมเป็นการดีที่จะมาตรวจสอบกันก่อนเริ่มต้นทำงาน ในกรณีที่เจอข้อผิดพลาดก็ยังสามารถรายงานให้ผู้ใช้ทราบ และแก้ไขได้อย่างถูกต้อง

4 ขั้นตอนการทำงานของ POST

ใน BIOS ใดๆ แม้จะต่างยี่ห้อ ต่างบริษัทกัน โดยส่วนใหญ่จะมีขั้นตอน POST ที่คล้ายๆ กัน 4 ขั้นตอน ดังนี้

แสดงข้อความเริ่มต้นของการ์ดแสดงผล ซึ่งปกติจะขึ้นอยู่กับชนิดของการ์ดแสดงผลที่ติดตั้งอยู่ในคอมพิวเตอร์นั้นๆ โดยอาจแสดงชื่อบริษัท-โลโก้ของผู้ผลิต,ชื่อรุ่น,ขนาดของหน่วยความจำ ฯลฯ หรือในบางรุ่นอาจไม่แสดงข้อความใดๆ ในขั้นตอนนี้เลยก็ได้
แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ BIOS รวมถึงหมายเลขอ้างอิงสำหรับผู้ผลิตเมนบอร์ดและข้อความอื่นๆ
ตรวจสอบและนับจำนวนหน่วยความจำ รวมทั้งเริ่มการทำงานของอุปกรณ์ประเภทดิสก์ไดรฟ์
เมื่อสิ้นสุดการทำงานของ POST แล้ว บนหน้าจอจะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์พื้นฐานทั้งหมด จากนั้นจึงโหลดระบบปฏิบัติการจากดิสก์ที่กำหนด (ผ่านทาง SETUP )มาทำงานต่อไป

BIOS ที่มีใช้งานอยู่ส่วนใหญ่จะมีอยู่ 2 บริษัทคือของ AMI BIOS (American Megatrends Inc) และ AWARD (ปัจจุบันรวมเข้ากับ Phoenix Technologies, Ltd. แล้ว) นอกจากนี้ก็จะมี BIOS ที่เป็นของแบนด์เนมต่าง ๆ เช่น COMPAQ หรือ IBM ซึ่งจะมีหน้าตาและวิธีการตั้งค่าแตกต่างออกไปด้วย

Web link บริษัท AMI BIOS
Web link บรัษัท Phoenix
สรุปว่า BIOS มีความสำคัญมากในระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มี BIOS เราก็ไม่สามารถเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์

[แก้ไข] ภาพตัวอย่าง

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรม (Software) ที่ทําหน้าที่ ควบคุมการทํางานของ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ต่อการทํางานของคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทํางานด้วยตัวเองได้ แต่จะต้องอาศัยโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางานซึ่งเรียกว่า “ซอฟต์แวร์” (Software) โดยทั่วไปซอฟต์แวร์จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ โปรแกรมสําเร็จรูป และโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้จะมีหน้าที่ ในการจัดการและควบคุมการทํางานและอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น พ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบปฏิบัติการจะทําหน้าที่ เป็น ตัวกลางในการติดต่อกับฮาร์ดแวร์ของเครื่องโดยตรงและโปรแกรมการใช์งานต่าง ๆ

ความหมายของระบบปฏิบัติการ
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า OS (Operating System) เป็นโปรแกรม ควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ควบคุมการทำงานต่าง ๆ เช่น การแสดงผล ข้อมูลการติดต่อกับผู้ใช้ โดยทําหน้าที่เป็นสื่อกลาง ระหว่างผู้ใช้กับเครื่องให้สามารถสื่อสารกันได้ควบคุมและจัดสรรทรัพยากรให้กับโปรแกรมต่าง ๆ

ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ระบบต่างๆ
การจัดการเกี่ยวกับการแสดงผลบนจอภาพ รับข้อมูลทางแป้นพิมพ์หรือเมาส์ การจัดการเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลลงแฟ้ม การติดตั้งโปรแกรม นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการยังช่วยสร้างส่วนติดต่อ ระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ (User interface) ให้ง่ายต่อการใช้งาน ระบบปฏิบัติการมีอยู่หลาย ระบบ ซึ่งมีการพัฒนาจากผู้ผลิตหลายบริษัท แต่ที่สํ าคัญ ๆ มีดังนี้

1. ระบบปฏิบัติการ DOS (Disk Operating System)
ระบบ DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM เพื่อให้เป็ระบบปฏิบัติการ
สําหรับเครื่องพีซี ซึ่งตัวโปรแกรม DOS จะถูก Load หรืออ่านจากแผ่นดิสก์เข้าไปเก็บไว้ในหน่วย
ความจําก่อน จากนั้น DOS จะไปทําหน้าที่เป็น ผู้ประสานงานต่าง ๆ ระหว่างผู้ใช้กับอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์ทั้งหลายโดยอัตโนมัติ โดยที่ DOS จะรับคําสั่งจากผู้ใช้หรือโปรแกรมแล้ว นํ าไป
ปฏิบัติตาม โดยการทํางานจะเป็นแบบ Text mode สั่งงานโดยการกดคําสั่งเข้าไปที่ซีพร็อม (C:\>)
ดังนั้น ผู้ใช้ระบบนี้จึงต้องจําคําสั่งต่าง ๆ ในการใช้งานจึงจะสามารถใช้งานได้ ระบบปฏิบัติการ
DOS ถือได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่เก่าแก่. และปัจจุบันนี้มีการใช้งานน้อยมาก


2 .ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows
Windows เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท Microsoft ซึ่งจะมีส่วนติดต่อกับ ผู้ใช้
(User interface) เป็นแบบกราฟิก หรือเป็นระบบที่ใช้รูปภาพแทนคําสั่ง เรียกว่า GUI (Graphic
User Interface) โดยสามารถสั่งให้เครื่องทํางานได้โดยใช้เมาส์คลิกที่สัญลักษณ์หรือคลิกที่คําสั่ง
ที่ต้องการ ระบบนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโปรแกรมได้มากกว่า 1 โปรแกรมในขณะเดียวกัน
ซึ่งถ้าเป็นระบบ DOS หากต้องการเปลี่ยนไปทํางานโปรแกรมอื่น ๆ จะต้องออกจาก โปรแกรม
เดิมก่อนจึงจะสามารถไปใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้ ในลักษณะการทํางานของ Windows จะมีส่วนที่เรียกว่า “หน้าต่าง” โดยแต่ละโปรแกรมจะถือเป็นหน้าต่างหนึ่งหน้าต่าง ผู้ใช้สามารถ สลับ
ไปมาระหว่างแต่ละหน้าต่างได้ นอกจากนี้ระบบ Windows ยังให้โปรแกรมต่าง ๆ สามารถ แชร์
ข้อมูลระหว่างกันได้ผ่านทางคลิปบอ์.ด (Clipboard) ระบบ Windows ทําให้ผู้ใช้ ทั่ว ๆไปสามารถ
ทําความเข้าใจ เรียนรู้และใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น

3. ระบบปฏิบัติการ Unix
Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้บนเครื่อง SUN ของบริษัท SUN Microsystems แต่ไม่ได้เป็นคู่แข่งกับบริษัท Microsoft ในเรื่องของระบบปฏิบัติการบนเครื่อง PC แต๋อย่างใด แต่Unix เป็น
ระบบปฏิบัติการที่ใช็เทคโนโลยีแบบเปิด (Open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้อง ผูกติดกับ
ระบบใดระบบหนึ่งหรืออุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกัน นอกจากนี้ Unix ยังถูกออกแบบมาเพื่อ ตอบสนอง
การใช้งานในลักษณะให้มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกัน เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (Multiuser
system) และสามารถทํางานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลาย
ภารกิจ (Multitasking system)

4. ระบบปฏิบัติการ Linux
Linux เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ DOS, Windows หรือ Unix โดยLinuxนั้นจัด ว่าเป็นระบบปฏิบัติการ Unix ประเภทหนึ่ง การที่Linuxเป็นที่กล่าวขานกันมากในช่วงปี 1999 – 2000
เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติ การและโปรแกรมประยุกต์ที่ ทํ างานบนระบบ Linux
โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU’s Not UNIX) และสิ่งที่สําคัญที่สุดก็
คือ ระบบ Linux เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อ
โปรแกรม Linux นั้นมี นักพัฒนาโปรแกรมจากทั่วโลกช่วยกันแก้ไข ทําให้การขยายตัวของ Linux
เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยในส่วนของใจกลางระบบปฏิบัติการ หรือ Kernel นั้นจะมีการพัฒนาเป็น
รุ่นที่ 2.2 (Linux Kernel 2.2) ซึ่งได้เพิ่มขีดความสามารถและสนับสนุนการทํางานแบบหลายซีพียู
หรือ SMP (Symmetrical Multi Processors) ซึ่งทําให้ระบบLinux สามารถนําไปใช้สําหรับทํางาน
เป็น Saver ขนาดใหญ่ได้ระบบ Linux ตั้งแต่รุ่น 4 นั้น สามารถทํางานได้บนซีพียูทั้ง 3 ตระกูล คือ
บนซีพียูของ อินเทล (PC Intel) ดิจิทัลอัลฟาคอมพิวเตอร์ (Digital Alpha Computer และซันสปาร์ค
(SUN SPARC) เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RPM (Red Hat Package Management) ถึงแม้ว่า
ขณะนี้ Linux ยังไม่สามารถแทนที่ Microsoft Windows บนพีซีหรือ Mac OS ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่
ก็มีผู้ใช้ จํานวนไม่น้อยที่สนใจมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บน Linux และเรื่องของการ
ดูแล ระบบ Linux นั้น ก็มีเครื่องมือช่วยสําหรับดําเนินการให้สะดวกยิ่งขึ้น
…………………………………………………………

การเลือกระบบปฏิบัติการให้กับคอมพิวเตอร์ (OS)
ครั้งก่อน ผมพูดถึงการเลือกซื้ออุปกรณ์เพื่อนำมาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ กันไปแล้ว..ครั้งนี้ผมจะพูดถึงวิธีการประกอบกันบ้าง..แต่เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องผมจะขอพูดถึงระบบปฏิบัติการ (OS) ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์กันก่อน..
ระบบปฏิบัติการ (OS) <-- มาจาก Operating System แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ คือ
1.Unix เป็น OS ที่ใช้สำหรับ เครื่อง Server เพราะเป็น OS ที่มีเสถียรถาพมากที่สุด ไม่เหมาะสำหรับผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไปเพราะใช้ยากต้องมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ขั้นสูง และไม่สนับสนุนพวก Multimedia ต่าง ๆ ปัจจุบันมี OS ที่เป็น Unix ที่พัฒนามาให้ใช้งานง่ายเหมาะสมกับผู้ใช้ทั่ว ๆ ไปเพราะจะมีลักษณะ คล้ายกับ Windows ของ Microsoft เราเรียก OS ตัวนี้ว่า Linux เป็น OS ที่สามารถนำมาใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ เพราะเป็น OS ที่แจก Source code เพื่อนำไปพัฒนา ก็มีอยู่หลาย ๆ ค่ายที่นำ Linux ไปพัฒนา แต่ที่ได้รับความนิยมก็คือ Redhat Linux เพราะการใช้งานง่ายคล้าย Windows สำหรับที่เป็นภาษาไทย ตอนนี้ เนคเทค ได้พัฒนาจนสามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ..สำหรับใครที่อยากทดลองใช้ก็สามารถ down load ได้จาก http://www.nectec.or.th
2. Apple OS เป็น OS ที่ใช้สำหรับเครื่อง Max เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบ Graffic design อะไรทำนองนั้นไม่เหมาะสำหรับ User อย่างเรา ๆ หรอกครับ..
3. Windows เป็น OS ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดถึงประมาณ 90 % ของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลก เพราะมีลักษณะการใช้งานที่ง่าย ไม่ต้องมีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์มากนัก สนับสนุน Multimedia อย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ฯลฯ Windows ในปัจจุบันมีให้เลือกใช้งานหลาย version ด้วยกัน ทั้งที่ให้เป็น Server และ Home use ทั่ว ๆ ดังนี้

>>Home use
1) Windows 3.11 เป็น OS แบบ 16 bit เป็น version แรกของ Windows ที่ใช้ทรัพยากรของระบบน้อยมาก แต่ประสิทธิภาพต่าง ๆ ที่สนับสนุนก็น้อยตามไปด้วย..
2) Windows 95 เป็น OS แบบ 32 bit พัฒนาขีดความสามารถขึ้นมาจากเดิม มีฟีเวอร์ต่าง ๆ เพิ่มเข้ามา แต่ version นี้ยังมี bug มากไม่ค่อยเสถียรพอ..
3) Windows 98 เป็น OS แบบ 32 bit ที่พัฒนามาจาก 95 แก้ไข bug ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งสนับสนุน Multimedia อย่างสมบูรณ์ มีการนำเอา browser ยอดนิยมอย่าง IE ติดมาให้ด้วย version นี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก..
4) Windows 98 SE เป็น OS แบบ 32 bit ที่แก้ไข version 98 ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น แก้ไข bug และเพิ่มฟีเวอร์ใหม่ ๆ มากมายเช่นสามารถทำเป็น Server แชร์ IP ให้กับเครื่องลูกได้ และนำเอา IE 5 ติดมาด้วย นับว่า version นี้เป็น version ที่ดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุด และเสถียรภาพมากที่สุดแล้ว ในตระกูลของ Windows 98
5) Windows Me เป็น OS แบบ 32 bit ที่พัฒนามาสำหรับ Home use โดยเฉพาะ ตัดเอา Ms-Dos ออกไปเพื่อสร้างความมีเสถียรภาพให้กับระบบ สนับสนุน Multimedia สมบูรณ์แบบที่สุด..ตอนนี้ผมเองก็ลองใช้อยู่ครับ..ยอมรับว่าดีมาก ๆ ไม่ค่อยมีปัญหาเหมือน 98 ที่ผ่านมาครับ..
>>Server
1) Windows NT4 มีความเสถียรถาพสูงทำงาน เป็น Srever การใช้งานผู้ใช้ต้องมีความรู้พอสมควรเพราะลักษณะการใช้งานคล้ายกับ Unix แต่จะมีระบบ Graffic ที่ดีกว่า..
2) Windows 2000 เป็น OS ที่เป็น NT พัฒนามาจาก NT4 มีความเสถียรภาพสูง และรองรับ Multimedia ใช้เป็น Server สนับสนุนการใช้งานแบบ Multi user มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีเยี่ยม..มี 2 version ให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม..
" พูดถึง Windows ผมก็อยากที่จะให้ทุก ๆ ท่านมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ Windows 98 กับ Windows 2000 ว่าจริง ๆ แล้วลักษณะการใช้งานแตกต่างกัน ดังที่ผมได้พูดไว้แล้ว..บางท่านยังเข้าใจผิดว่า Windows 2000 เป็น version ใหม่ล่าสุดที่มาแทนที่ Windows 98 SE เวลาจะซื้อเครื่องก็มักจะถามว่า เป็น Windows 2000 หรือเปล่า..อะไรทำนองนี้ ผมก็อยากให้ท่านทำความเข้าใจให้ถูกต้องด้วยนะครับ..ตอนนี้ที่เหมาะสำหรับ User ทั่ว ๆ ไป ก็คือ Windows 98 SE ครับ..ดีที่สุดแล้ว.."
………………………………………………………………………………………….

ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการ นี่นะครับ ก็หมายถึง ชุดของโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ครับ จะมีหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ประยุกต์ครับ ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการนะครับ ก็ได้แก่ MS - DOS , UNIX , LINUX , Windows Me , Windows XP เหล่านี้เป็นต้นครับ ระบบปฏิบัติการนี้นะครับจะทำงานอยู่เบื้องหลังของผู้ใช้ครับ โดยระบบปฏิบัติการนี้ก็มีหน้าที่หลักๆ ดังนี้ครับ
• อันแรกนี้ก็คือการจัดส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ ครับ เช่น หน่วยประมวลผลกลาง ที่เก็บข้อมูลสำรอง หน่วยความจำ และเครื่องพิมพ์ เป็นต้นครับ
• อันที่สองนี้นะครับก็คือจัดการในส่วนของการติดต่อกับผู้ใช้ครับ
• และในข้อนี้ก็ไดแก่ให้บริการโปรแกรมประยุกต์อื่นครับ เช่น และการแสดงผล เป็นต้น โดยปกติแล้วโปรแกรมประยุกต์จะต้องทำงานผ่านระบบปฏิบัติการครับ
ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานในปัจจุบันนี้นะครับ จะเป็นระบบปฏิบัติการวินโดว์ครับ เพราะสามารถใช้งานได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วด้วยครับ ถึงแม้คนที่ไม่ความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์เลย ก็สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการวินโดว์ได้ แต่ในที่นี้นะครับผมจะขอกล่าวถึง ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในอดีตและในปัจจุบันนะครับแต่ในที่นี่ผมจะขอกล่าวถึง เพียงสองอย่างนะครับ ซึ่งได้แก่ MS – DOS และก็ Microsoft Windows สองอย่างนี้นะครับ
• ในข้อหนึ่งนี้นะครับผมจะกล่าวถึง ระบบปฏิบัติการ MS – DOS ครับ ซึ่ง เมื่อผู้ใช้เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการก็จะถูกเรียกจากฮาร์ดดิสก์มาไว้ใน หน่วยความจำของเครื่องนะครับเพื่อเตรียมที่จะใช้งานได้ทันที ที่ต้องการนะครับ ซึ่งขั้นตอนที่ย้ายระบบปฏิบัติการเข้าสู่หน่วยความจำของเครื่องนั้นเรียกว่า การบูตระบบ ครับ ซึ่งเมื่อเปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้น โปรแกรมเล็ก ๆ ที่อยู่ใน หน่วยความจำรอม จะเรียกเอาส่วนประกอบพื้นฐานที่จำเป็นของระบบปฏิบัติการจากฮาร์ดดิสก์เข้ามาไว้ในหน่วยความจำหลักนะครับ ซึ่งจะได้ผลลัพธ์บนจอภาพเป็น C > หรือ C:\ > นี่นะครับ โดยที่หมายถึงดิสก์ไดรฟ์ที่ทำงานอยู่ และเครื่องหมาย > หมายถึงการเตรียมพร้อมที่จะทำงานจากนั้น ผู้ใช้ก็จะสามารถพิมพ์คำสั่งของ MS – DOS ได้ทันทีครับเพื่อใช้งานคอมพิวเตอร์
ส่วนในข้อนี้นะครับผมจะกล่าวถึง ระบบปฏิบัติการวินโดว์ ครับ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันนี้ครับ ผมจะกล่าวรายละเอียดเลยนะครับ คือ ไมโครซอฟต์วินโดว์นี่นะครับหรือที่นิยมเรียกกันว่า วินโดว์ นั่นแหละครับ ซึ่งมีระบบการติดต่อกับผู้ใช้เป็นแบบกราฟิกที่มีสีสันสวยงามมากครับและสามารถใช้ได้ง่าย ซึ่งผู้ใช้บนระบบวินโดว์นี้นะครับก็จะทำงานกับ เมนู และรูปภาพที่เรียกว่า ไอคอน แทนที่จะเป็นการพิมพ์คำสั่งต่าง ๆ ลงไปครับ ระบบปฏิบัติการวินโดว์ที่ใช้ในปัจจุบันนะครับก็ได้มีการพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่องนะครับ ซึ่งก็ได้มีสีสันที่สวยงามมากขึ้นกว่าเดิม และสามารถใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้นกว่าระบบปฏิบัติการวินโดว์ในรุ่นก่อนๆ นะครับ ถึงแม้ว่าวินโดว์จะเป็นระบบที่ทำงานด้วยกราฟิกที่มีสีสันสวยงานแต่การทำงาน ของวินโดว์นี้นะครับก็ยังทำงานภายใต้การทำงานของดอสครับ เพียงแต่ระบบวินโดว์นี้เราจะไม่จำเป็นต้องรู้คำสั่งของดอสเท่านั้นเอง เพราะเราใช้งานคำสั่งสำเร็จรูปด้วยเมนูบนวินโดว์ ครับ
ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
ระบบปฏิบัติการนี่ นะครับ คือระบบปฏิบัติการสำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์นะครับ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกันได้ครับ อย่างเช่น ใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน เป็นต้น ระบบปฏิบัติการเครือข่ายนี่นะครับจะมีคุณสมบัติในการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและ การใช้งานอุปกรณ์ร่วมกันนะครับ รวมทั้งยังมีระบบการป้องกันการสูญหายของข้อมูลอีกด้วยครับ
ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้ปัจจุบันนี้นะครับจะใช้หลักการประมวลผลแบบ ไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ นะครับ โดยส่วนประกอบสำหรับการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลและการจัดการโปรแกรมนั้นะครับจะทำงานอยู่บน เครื่องเซิร์ฟเวอร์ครับในขณะที่ส่วนประกอบอื่นๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายนี้นะครับจะอยู่บนเครื่องไคลเอนต์ครับ เช่น การติดต่อกับผู้ใช้ นะครับเหล่านี้เป็นต้น การจัดการให้ผู้ใช้เห็นว่างานและอุปกรณ์ทั้งหลายที่ใช้นั้นเสมือนอยู่บนเครื่องไคลเอนต์เองนะครับ ก็ถือว่าเป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งของระบบปฏิบัติการเครือข่ายด้วยนะครับ
ระบบปฏิบัติการบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่นี้นะครับอย่างเช่นเครื่องระดับเมนเฟรมนี่นะครับ ได้ถูกนำมาใช้ในด้านธุรกิจและการศึกษานะครับ ซึ่งจะมีผู้ใช้งานพร้อมๆ กันจำนวนมากนะครับ ทำให้ระบบปฏิบัติการของเครื่องระดับนี้มีการทำงานที่ซับซ้อนมาก โดยต้องทำการดูแลสั่งงานโปรแกรมพร้อมๆ กันจำนวนหลายๆ โปรแกรมนะครับ ดูแลในการเข้าใช้งานเครื่องของผู้ใช้จำนวนหลายๆ คนนะครับ ดูแลจัดลำดับและแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ใช้ ตลอดจนการรักษาความเป็นส่วนตัวและความลับของผู้ใช้แต่ละคนอีกด้วยนะครับ
ระบบปฏิบัติการแบบเปิด
ผมต้องขอเล่ารายละเอียดสักเล็กน้อยนะครับ คือว่า ในสมัยก่อนนั้นผู้ที่พัฒนาระบบปฏิบัติการก็คือบริษัทที่ผลิตคอมพิวเตอร์นะครับ ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงถูกออกแบบให้สามารถใช้ได้เฉพาะกับเครื่องของบริษัทเท่านั้นนะครับ ซึ่งเราเรียกระบบปฏิบัติการประเภทนี้ว่า ระบบปฏิบัติการแบบปิด ครับ ใน ปัจจุบันนี้นะครับเริ่มมีแนวโน้มที่จะทำให้ระบบการสามารถนำไปใช้งานบนเครื่องต่าง ๆ กันได้ซึ่งระบบปฏิบัติการแบบนี้นะครับก็คือ ระบบปฏิบัติการแบบเปิด นั่นเองครับ ก็อย่างเช่น UNIX หรืออีกระบบหนึ่งนะครับก็คือ ระบบ LINUX นี่เองครับ นี่แหละครับ คือระบบปฏิบัติการแบบเปิดครับ
http://www.geocities.com/ourbenja/comx01.htm
http://www.kingsolder.com/computer/os.asp
ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรม (Software) ที่ทําหน้าที่ ควบคุมการทํางานของ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ต่อการทํางานของคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทํางานด้วยตัวเองได้ แต่จะต้องอาศัยโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางานซึ่งเรียกว่า “ซอฟต์แวร์” (Software) โดยทั่วไปซอฟต์แวร์จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ โปรแกรมสําเร็จรูป และโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้จะมีหน้าที่ ในการจัดการและควบคุมการทํางานและอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น พ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบปฏิบัติการจะทําหน้าที่ เป็น ตัวกลางในการติดต่อกับฮาร์ดแวร์ของเครื่องโดยตรงและโปรแกรมการใช์งานต่าง ๆ

ความหมายของระบบปฏิบัติการ
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า OS (Operating System) เป็นโปรแกรม ควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ควบคุมการทำงานต่าง ๆ เช่น การแสดงผล ข้อมูลการติดต่อกับผู้ใช้ โดยทําหน้าที่เป็นสื่อกลาง ระหว่างผู้ใช้กับเครื่องให้สามารถสื่อสารกันได้ควบคุมและจัดสรรทรัพยากรให้กับโปรแกรมต่าง ๆ

ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ระบบต่างๆ
การจัดการเกี่ยวกับการแสดงผลบนจอภาพ รับข้อมูลทางแป้นพิมพ์หรือเมาส์ การจัดการเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลลงแฟ้ม การติดตั้งโปรแกรม นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการยังช่วยสร้างส่วนติดต่อ ระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ (User interface) ให้ง่ายต่อการใช้งาน ระบบปฏิบัติการมีอยู่หลาย ระบบ ซึ่งมีการพัฒนาจากผู้ผลิตหลายบริษัท แต่ที่สํ าคัญ ๆ มีดังนี้

1. ระบบปฏิบัติการ DOS (Disk Operating System)
ระบบ DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM เพื่อให้เป็ระบบปฏิบัติการ
สําหรับเครื่องพีซี ซึ่งตัวโปรแกรม DOS จะถูก Load หรืออ่านจากแผ่นดิสก์เข้าไปเก็บไว้ในหน่วย
ความจําก่อน จากนั้น DOS จะไปทําหน้าที่เป็น ผู้ประสานงานต่าง ๆ ระหว่างผู้ใช้กับอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์ทั้งหลายโดยอัตโนมัติ โดยที่ DOS จะรับคําสั่งจากผู้ใช้หรือโปรแกรมแล้ว นํ าไป
ปฏิบัติตาม โดยการทํางานจะเป็นแบบ Text mode สั่งงานโดยการกดคําสั่งเข้าไปที่ซีพร็อม (C:\>)
ดังนั้น ผู้ใช้ระบบนี้จึงต้องจําคําสั่งต่าง ๆ ในการใช้งานจึงจะสามารถใช้งานได้ ระบบปฏิบัติการ
DOS ถือได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่เก่าแก่. และปัจจุบันนี้มีการใช้งานน้อยมาก


2 .ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows
Windows เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท Microsoft ซึ่งจะมีส่วนติดต่อกับ ผู้ใช้
(User interface) เป็นแบบกราฟิก หรือเป็นระบบที่ใช้รูปภาพแทนคําสั่ง เรียกว่า GUI (Graphic
User Interface) โดยสามารถสั่งให้เครื่องทํางานได้โดยใช้เมาส์คลิกที่สัญลักษณ์หรือคลิกที่คําสั่ง
ที่ต้องการ ระบบนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโปรแกรมได้มากกว่า 1 โปรแกรมในขณะเดียวกัน
ซึ่งถ้าเป็นระบบ DOS หากต้องการเปลี่ยนไปทํางานโปรแกรมอื่น ๆ จะต้องออกจาก โปรแกรม
เดิมก่อนจึงจะสามารถไปใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้ ในลักษณะการทํางานของ Windows จะมีส่วนที่เรียกว่า “หน้าต่าง” โดยแต่ละโปรแกรมจะถือเป็นหน้าต่างหนึ่งหน้าต่าง ผู้ใช้สามารถ สลับ
ไปมาระหว่างแต่ละหน้าต่างได้ นอกจากนี้ระบบ Windows ยังให้โปรแกรมต่าง ๆ สามารถ แชร์
ข้อมูลระหว่างกันได้ผ่านทางคลิปบอ์.ด (Clipboard) ระบบ Windows ทําให้ผู้ใช้ ทั่ว ๆไปสามารถ
ทําความเข้าใจ เรียนรู้และใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น

3. ระบบปฏิบัติการ Unix
Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้บนเครื่อง SUN ของบริษัท SUN Microsystems แต่ไม่ได้เป็นคู่แข่งกับบริษัท Microsoft ในเรื่องของระบบปฏิบัติการบนเครื่อง PC แต๋อย่างใด แต่Unix เป็น
ระบบปฏิบัติการที่ใช็เทคโนโลยีแบบเปิด (Open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้อง ผูกติดกับ
ระบบใดระบบหนึ่งหรืออุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกัน นอกจากนี้ Unix ยังถูกออกแบบมาเพื่อ ตอบสนอง
การใช้งานในลักษณะให้มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกัน เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (Multiuser
system) และสามารถทํางานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลาย
ภารกิจ (Multitasking system)

4. ระบบปฏิบัติการ Linux
Linux เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ DOS, Windows หรือ Unix โดยLinuxนั้นจัด ว่าเป็นระบบปฏิบัติการ Unix ประเภทหนึ่ง การที่Linuxเป็นที่กล่าวขานกันมากในช่วงปี 1999 – 2000
เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติ การและโปรแกรมประยุกต์ที่ ทํ างานบนระบบ Linux
โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU’s Not UNIX) และสิ่งที่สําคัญที่สุดก็
คือ ระบบ Linux เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อ
โปรแกรม Linux นั้นมี นักพัฒนาโปรแกรมจากทั่วโลกช่วยกันแก้ไข ทําให้การขยายตัวของ Linux
เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยในส่วนของใจกลางระบบปฏิบัติการ หรือ Kernel นั้นจะมีการพัฒนาเป็น
รุ่นที่ 2.2 (Linux Kernel 2.2) ซึ่งได้เพิ่มขีดความสามารถและสนับสนุนการทํางานแบบหลายซีพียู
หรือ SMP (Symmetrical Multi Processors) ซึ่งทําให้ระบบLinux สามารถนําไปใช้สําหรับทํางาน
เป็น Saver ขนาดใหญ่ได้ระบบ Linux ตั้งแต่รุ่น 4 นั้น สามารถทํางานได้บนซีพียูทั้ง 3 ตระกูล คือ
บนซีพียูของ อินเทล (PC Intel) ดิจิทัลอัลฟาคอมพิวเตอร์ (Digital Alpha Computer และซันสปาร์ค
(SUN SPARC) เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RPM (Red Hat Package Management) ถึงแม้ว่า
ขณะนี้ Linux ยังไม่สามารถแทนที่ Microsoft Windows บนพีซีหรือ Mac OS ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่
ก็มีผู้ใช้ จํานวนไม่น้อยที่สนใจมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บน Linux และเรื่องของการ
ดูแล ระบบ Linux นั้น ก็มีเครื่องมือช่วยสําหรับดําเนินการให้สะดวกยิ่งขึ้น
…………………………………………………………

การเลือกระบบปฏิบัติการให้กับคอมพิวเตอร์ (OS)
ครั้งก่อน ผมพูดถึงการเลือกซื้ออุปกรณ์เพื่อนำมาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ กันไปแล้ว..ครั้งนี้ผมจะพูดถึงวิธีการประกอบกันบ้าง..แต่เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องผมจะขอพูดถึงระบบปฏิบัติการ (OS) ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์กันก่อน..
ระบบปฏิบัติการ (OS) <-- มาจาก Operating System แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ คือ
1.Unix เป็น OS ที่ใช้สำหรับ เครื่อง Server เพราะเป็น OS ที่มีเสถียรถาพมากที่สุด ไม่เหมาะสำหรับผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไปเพราะใช้ยากต้องมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ขั้นสูง และไม่สนับสนุนพวก Multimedia ต่าง ๆ ปัจจุบันมี OS ที่เป็น Unix ที่พัฒนามาให้ใช้งานง่ายเหมาะสมกับผู้ใช้ทั่ว ๆ ไปเพราะจะมีลักษณะ คล้ายกับ Windows ของ Microsoft เราเรียก OS ตัวนี้ว่า Linux เป็น OS ที่สามารถนำมาใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ เพราะเป็น OS ที่แจก Source code เพื่อนำไปพัฒนา ก็มีอยู่หลาย ๆ ค่ายที่นำ Linux ไปพัฒนา แต่ที่ได้รับความนิยมก็คือ Redhat Linux เพราะการใช้งานง่ายคล้าย Windows สำหรับที่เป็นภาษาไทย ตอนนี้ เนคเทค ได้พัฒนาจนสามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ..สำหรับใครที่อยากทดลองใช้ก็สามารถ down load ได้จาก http://www.nectec.or.th
2. Apple OS เป็น OS ที่ใช้สำหรับเครื่อง Max เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบ Graffic design อะไรทำนองนั้นไม่เหมาะสำหรับ User อย่างเรา ๆ หรอกครับ..
3. Windows เป็น OS ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดถึงประมาณ 90 % ของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลก เพราะมีลักษณะการใช้งานที่ง่าย ไม่ต้องมีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์มากนัก สนับสนุน Multimedia อย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ฯลฯ Windows ในปัจจุบันมีให้เลือกใช้งานหลาย version ด้วยกัน ทั้งที่ให้เป็น Server และ Home use ทั่ว ๆ ดังนี้

>>Home use
1) Windows 3.11 เป็น OS แบบ 16 bit เป็น version แรกของ Windows ที่ใช้ทรัพยากรของระบบน้อยมาก แต่ประสิทธิภาพต่าง ๆ ที่สนับสนุนก็น้อยตามไปด้วย..
2) Windows 95 เป็น OS แบบ 32 bit พัฒนาขีดความสามารถขึ้นมาจากเดิม มีฟีเวอร์ต่าง ๆ เพิ่มเข้ามา แต่ version นี้ยังมี bug มากไม่ค่อยเสถียรพอ..
3) Windows 98 เป็น OS แบบ 32 bit ที่พัฒนามาจาก 95 แก้ไข bug ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งสนับสนุน Multimedia อย่างสมบูรณ์ มีการนำเอา browser ยอดนิยมอย่าง IE ติดมาให้ด้วย version นี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก..
4) Windows 98 SE เป็น OS แบบ 32 bit ที่แก้ไข version 98 ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น แก้ไข bug และเพิ่มฟีเวอร์ใหม่ ๆ มากมายเช่นสามารถทำเป็น Server แชร์ IP ให้กับเครื่องลูกได้ และนำเอา IE 5 ติดมาด้วย นับว่า version นี้เป็น version ที่ดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุด และเสถียรภาพมากที่สุดแล้ว ในตระกูลของ Windows 98
5) Windows Me เป็น OS แบบ 32 bit ที่พัฒนามาสำหรับ Home use โดยเฉพาะ ตัดเอา Ms-Dos ออกไปเพื่อสร้างความมีเสถียรภาพให้กับระบบ สนับสนุน Multimedia สมบูรณ์แบบที่สุด..ตอนนี้ผมเองก็ลองใช้อยู่ครับ..ยอมรับว่าดีมาก ๆ ไม่ค่อยมีปัญหาเหมือน 98 ที่ผ่านมาครับ..
>>Server
1) Windows NT4 มีความเสถียรถาพสูงทำงาน เป็น Srever การใช้งานผู้ใช้ต้องมีความรู้พอสมควรเพราะลักษณะการใช้งานคล้ายกับ Unix แต่จะมีระบบ Graffic ที่ดีกว่า..
2) Windows 2000 เป็น OS ที่เป็น NT พัฒนามาจาก NT4 มีความเสถียรภาพสูง และรองรับ Multimedia ใช้เป็น Server สนับสนุนการใช้งานแบบ Multi user มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีเยี่ยม..มี 2 version ให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม..
" พูดถึง Windows ผมก็อยากที่จะให้ทุก ๆ ท่านมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ Windows 98 กับ Windows 2000 ว่าจริง ๆ แล้วลักษณะการใช้งานแตกต่างกัน ดังที่ผมได้พูดไว้แล้ว..บางท่านยังเข้าใจผิดว่า Windows 2000 เป็น version ใหม่ล่าสุดที่มาแทนที่ Windows 98 SE เวลาจะซื้อเครื่องก็มักจะถามว่า เป็น Windows 2000 หรือเปล่า..อะไรทำนองนี้ ผมก็อยากให้ท่านทำความเข้าใจให้ถูกต้องด้วยนะครับ..ตอนนี้ที่เหมาะสำหรับ User ทั่ว ๆ ไป ก็คือ Windows 98 SE ครับ..ดีที่สุดแล้ว.."
………………………………………………………………………………………….

ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการ นี่นะครับ ก็หมายถึง ชุดของโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ครับ จะมีหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ประยุกต์ครับ ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการนะครับ ก็ได้แก่ MS - DOS , UNIX , LINUX , Windows Me , Windows XP เหล่านี้เป็นต้นครับ ระบบปฏิบัติการนี้นะครับจะทำงานอยู่เบื้องหลังของผู้ใช้ครับ โดยระบบปฏิบัติการนี้ก็มีหน้าที่หลักๆ ดังนี้ครับ
• อันแรกนี้ก็คือการจัดส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ ครับ เช่น หน่วยประมวลผลกลาง ที่เก็บข้อมูลสำรอง หน่วยความจำ และเครื่องพิมพ์ เป็นต้นครับ
• อันที่สองนี้นะครับก็คือจัดการในส่วนของการติดต่อกับผู้ใช้ครับ
• และในข้อนี้ก็ไดแก่ให้บริการโปรแกรมประยุกต์อื่นครับ เช่น และการแสดงผล เป็นต้น โดยปกติแล้วโปรแกรมประยุกต์จะต้องทำงานผ่านระบบปฏิบัติการครับ
ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานในปัจจุบันนี้นะครับ จะเป็นระบบปฏิบัติการวินโดว์ครับ เพราะสามารถใช้งานได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วด้วยครับ ถึงแม้คนที่ไม่ความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์เลย ก็สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการวินโดว์ได้ แต่ในที่นี้นะครับผมจะขอกล่าวถึง ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในอดีตและในปัจจุบันนะครับแต่ในที่นี่ผมจะขอกล่าวถึง เพียงสองอย่างนะครับ ซึ่งได้แก่ MS – DOS และก็ Microsoft Windows สองอย่างนี้นะครับ
• ในข้อหนึ่งนี้นะครับผมจะกล่าวถึง ระบบปฏิบัติการ MS – DOS ครับ ซึ่ง เมื่อผู้ใช้เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการก็จะถูกเรียกจากฮาร์ดดิสก์มาไว้ใน หน่วยความจำของเครื่องนะครับเพื่อเตรียมที่จะใช้งานได้ทันที ที่ต้องการนะครับ ซึ่งขั้นตอนที่ย้ายระบบปฏิบัติการเข้าสู่หน่วยความจำของเครื่องนั้นเรียกว่า การบูตระบบ ครับ ซึ่งเมื่อเปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้น โปรแกรมเล็ก ๆ ที่อยู่ใน หน่วยความจำรอม จะเรียกเอาส่วนประกอบพื้นฐานที่จำเป็นของระบบปฏิบัติการจากฮาร์ดดิสก์เข้ามาไว้ในหน่วยความจำหลักนะครับ ซึ่งจะได้ผลลัพธ์บนจอภาพเป็น C > หรือ C:\ > นี่นะครับ โดยที่หมายถึงดิสก์ไดรฟ์ที่ทำงานอยู่ และเครื่องหมาย > หมายถึงการเตรียมพร้อมที่จะทำงานจากนั้น ผู้ใช้ก็จะสามารถพิมพ์คำสั่งของ MS – DOS ได้ทันทีครับเพื่อใช้งานคอมพิวเตอร์
ส่วนในข้อนี้นะครับผมจะกล่าวถึง ระบบปฏิบัติการวินโดว์ ครับ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันนี้ครับ ผมจะกล่าวรายละเอียดเลยนะครับ คือ ไมโครซอฟต์วินโดว์นี่นะครับหรือที่นิยมเรียกกันว่า วินโดว์ นั่นแหละครับ ซึ่งมีระบบการติดต่อกับผู้ใช้เป็นแบบกราฟิกที่มีสีสันสวยงามมากครับและสามารถใช้ได้ง่าย ซึ่งผู้ใช้บนระบบวินโดว์นี้นะครับก็จะทำงานกับ เมนู และรูปภาพที่เรียกว่า ไอคอน แทนที่จะเป็นการพิมพ์คำสั่งต่าง ๆ ลงไปครับ ระบบปฏิบัติการวินโดว์ที่ใช้ในปัจจุบันนะครับก็ได้มีการพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่องนะครับ ซึ่งก็ได้มีสีสันที่สวยงามมากขึ้นกว่าเดิม และสามารถใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้นกว่าระบบปฏิบัติการวินโดว์ในรุ่นก่อนๆ นะครับ ถึงแม้ว่าวินโดว์จะเป็นระบบที่ทำงานด้วยกราฟิกที่มีสีสันสวยงานแต่การทำงาน ของวินโดว์นี้นะครับก็ยังทำงานภายใต้การทำงานของดอสครับ เพียงแต่ระบบวินโดว์นี้เราจะไม่จำเป็นต้องรู้คำสั่งของดอสเท่านั้นเอง เพราะเราใช้งานคำสั่งสำเร็จรูปด้วยเมนูบนวินโดว์ ครับ
ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
ระบบปฏิบัติการนี่ นะครับ คือระบบปฏิบัติการสำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์นะครับ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกันได้ครับ อย่างเช่น ใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน เป็นต้น ระบบปฏิบัติการเครือข่ายนี่นะครับจะมีคุณสมบัติในการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและ การใช้งานอุปกรณ์ร่วมกันนะครับ รวมทั้งยังมีระบบการป้องกันการสูญหายของข้อมูลอีกด้วยครับ
ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้ปัจจุบันนี้นะครับจะใช้หลักการประมวลผลแบบ ไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ นะครับ โดยส่วนประกอบสำหรับการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลและการจัดการโปรแกรมนั้นะครับจะทำงานอยู่บน เครื่องเซิร์ฟเวอร์ครับในขณะที่ส่วนประกอบอื่นๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายนี้นะครับจะอยู่บนเครื่องไคลเอนต์ครับ เช่น การติดต่อกับผู้ใช้ นะครับเหล่านี้เป็นต้น การจัดการให้ผู้ใช้เห็นว่างานและอุปกรณ์ทั้งหลายที่ใช้นั้นเสมือนอยู่บนเครื่องไคลเอนต์เองนะครับ ก็ถือว่าเป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งของระบบปฏิบัติการเครือข่ายด้วยนะครับ
ระบบปฏิบัติการบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่นี้นะครับอย่างเช่นเครื่องระดับเมนเฟรมนี่นะครับ ได้ถูกนำมาใช้ในด้านธุรกิจและการศึกษานะครับ ซึ่งจะมีผู้ใช้งานพร้อมๆ กันจำนวนมากนะครับ ทำให้ระบบปฏิบัติการของเครื่องระดับนี้มีการทำงานที่ซับซ้อนมาก โดยต้องทำการดูแลสั่งงานโปรแกรมพร้อมๆ กันจำนวนหลายๆ โปรแกรมนะครับ ดูแลในการเข้าใช้งานเครื่องของผู้ใช้จำนวนหลายๆ คนนะครับ ดูแลจัดลำดับและแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ใช้ ตลอดจนการรักษาความเป็นส่วนตัวและความลับของผู้ใช้แต่ละคนอีกด้วยนะครับ
ระบบปฏิบัติการแบบเปิด
ผมต้องขอเล่ารายละเอียดสักเล็กน้อยนะครับ คือว่า ในสมัยก่อนนั้นผู้ที่พัฒนาระบบปฏิบัติการก็คือบริษัทที่ผลิตคอมพิวเตอร์นะครับ ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงถูกออกแบบให้สามารถใช้ได้เฉพาะกับเครื่องของบริษัทเท่านั้นนะครับ ซึ่งเราเรียกระบบปฏิบัติการประเภทนี้ว่า ระบบปฏิบัติการแบบปิด ครับ ใน ปัจจุบันนี้นะครับเริ่มมีแนวโน้มที่จะทำให้ระบบการสามารถนำไปใช้งานบนเครื่องต่าง ๆ กันได้ซึ่งระบบปฏิบัติการแบบนี้นะครับก็คือ ระบบปฏิบัติการแบบเปิด นั่นเองครับ ก็อย่างเช่น UNIX หรืออีกระบบหนึ่งนะครับก็คือ ระบบ LINUX นี่เองครับ นี่แหละครับ คือระบบปฏิบัติการแบบเปิดครับ
http://www.geocities.com/ourbenja/comx01.htm
http://www.kingsolder.com/computer/os.asp
ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรม (Software) ที่ทําหน้าที่ ควบคุมการทํางานของ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบปฏิบัติการจะทําหน้าที่ เป็น ตัวกลางในการติดต่อกับฮาร์ดแวร์ของเครื่องโดยตรงและโปรแกรมการใช์งานต่าง ๆ

ความหมายของระบบปฏิบัติการ
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า OS (Operating System) เป็นโปรแกรม ควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ควบคุมการทำงานต่าง ๆ เช่น การแสดงผล ข้อมูลการติดต่อกับผู้ใช้ โดยทําหน้าที่เป็นสื่อกลาง ระหว่างผู้ใช้กับเครื่องให้สามารถสื่อสารกันได้ควบคุมและจัดสรรทรัพยากรให้กับโปรแกรมต่าง ๆ

ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ระบบต่างๆ
การทํางานของคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทํางานด้วยตัวเองได้ แต่จะต้องอาศัยโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางานซึ่งเรียกว่า “ซอฟต์แวร์” (Software) โดยทั่วไปซอฟต์แวร์จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ โปรแกรมสําเร็จรูป และโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้จะมีหน้าที่ ในการจัดการและควบคุมการทํางานและอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การจัดการเกี่ยวกับการแสดงผลบนจอภาพ รับข้อมูลทางแป้นพิมพ์หรือเมาส์ การจัดการเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลลงแฟ้ม การติดตั้งโปรแกรม นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการยังช่วยสร้างส่วนติดต่อ ระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ (User interface) ให้ง่ายต่อการใช้งาน ระบบปฏิบัติการมีอยู่หลาย ระบบ ซึ่งมีการพัฒนาจากผู้ผลิตหลายบริษัท แต่ที่สํ าคัญ ๆ มีดังนี้

1. ระบบปฏิบัติการ DOS (Disk Operating System)
ระบบ DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM เพื่อให้เป็ระบบปฏิบัติการ
สําหรับเครื่องพีซี ซึ่งตัวโปรแกรม DOS จะถูก Load หรืออ่านจากแผ่นดิสก์เข้าไปเก็บไว้ในหน่วย
ความจําก่อน จากนั้น DOS จะไปทําหน้าที่เป็น ผู้ประสานงานต่าง ๆ ระหว่างผู้ใช้กับอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์ทั้งหลายโดยอัตโนมัติ โดยที่ DOS จะรับคําสั่งจากผู้ใช้หรือโปรแกรมแล้ว นํ าไป
ปฏิบัติตาม โดยการทํางานจะเป็นแบบ Text mode สั่งงานโดยการกดคําสั่งเข้าไปที่ซีพร็อม (C:\>)
ดังนั้น ผู้ใช้ระบบนี้จึงต้องจําคําสั่งต่าง ๆ ในการใช้งานจึงจะสามารถใช้งานได้ ระบบปฏิบัติการ
DOS ถือได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่เก่าแก่. และปัจจุบันนี้มีการใช้งานน้อยมาก


2 .ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows
Windows เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท Microsoft ซึ่งจะมีส่วนติดต่อกับ ผู้ใช้
(User interface) เป็นแบบกราฟิก หรือเป็นระบบที่ใช้รูปภาพแทนคําสั่ง เรียกว่า GUI (Graphic
User Interface) โดยสามารถสั่งให้เครื่องทํางานได้โดยใช้เมาส์คลิกที่สัญลักษณ์หรือคลิกที่คําสั่ง
ที่ต้องการ ระบบนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโปรแกรมได้มากกว่า 1 โปรแกรมในขณะเดียวกัน
ซึ่งถ้าเป็นระบบ DOS หากต้องการเปลี่ยนไปทํางานโปรแกรมอื่น ๆ จะต้องออกจาก โปรแกรม
เดิมก่อนจึงจะสามารถไปใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้ ในลักษณะการทํางานของ Windows จะมีส่วนที่เรียกว่า “หน้าต่าง” โดยแต่ละโปรแกรมจะถือเป็นหน้าต่างหนึ่งหน้าต่าง ผู้ใช้สามารถ สลับ
ไปมาระหว่างแต่ละหน้าต่างได้ นอกจากนี้ระบบ Windows ยังให้โปรแกรมต่าง ๆ สามารถ แชร์
ข้อมูลระหว่างกันได้ผ่านทางคลิปบอ์.ด (Clipboard) ระบบ Windows ทําให้ผู้ใช้ ทั่ว ๆไปสามารถ
ทําความเข้าใจ เรียนรู้และใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น

3. ระบบปฏิบัติการ Unix
Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้บนเครื่อง SUN ของบริษัท SUN Microsystems แต่ไม่ได้เป็นคู่แข่งกับบริษัท Microsoft ในเรื่องของระบบปฏิบัติการบนเครื่อง PC แต๋อย่างใด แต่Unix เป็น
ระบบปฏิบัติการที่ใช็เทคโนโลยีแบบเปิด (Open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้อง ผูกติดกับ
ระบบใดระบบหนึ่งหรืออุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกัน นอกจากนี้ Unix ยังถูกออกแบบมาเพื่อ ตอบสนอง
การใช้งานในลักษณะให้มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกัน เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (Multiuser
system) และสามารถทํางานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลาย
ภารกิจ (Multitasking system)

4. ระบบปฏิบัติการ Linux
Linux เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ DOS, Windows หรือ Unix โดยLinuxนั้นจัด ว่าเป็นระบบปฏิบัติการ Unix ประเภทหนึ่ง การที่Linuxเป็นที่กล่าวขานกันมากในช่วงปี 1999 – 2000
เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติ การและโปรแกรมประยุกต์ที่ ทํ างานบนระบบ Linux
โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU’s Not UNIX) และสิ่งที่สําคัญที่สุดก็
คือ ระบบ Linux เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อ
โปรแกรม Linux นั้นมี นักพัฒนาโปรแกรมจากทั่วโลกช่วยกันแก้ไข ทําให้การขยายตัวของ Linux
เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยในส่วนของใจกลางระบบปฏิบัติการ หรือ Kernel นั้นจะมีการพัฒนาเป็น
รุ่นที่ 2.2 (Linux Kernel 2.2) ซึ่งได้เพิ่มขีดความสามารถและสนับสนุนการทํางานแบบหลายซีพียู
หรือ SMP (Symmetrical Multi Processors) ซึ่งทําให้ระบบLinux สามารถนําไปใช้สําหรับทํางาน
เป็น Saver ขนาดใหญ่ได้ระบบ Linux ตั้งแต่รุ่น 4 นั้น สามารถทํางานได้บนซีพียูทั้ง 3 ตระกูล คือ
บนซีพียูของ อินเทล (PC Intel) ดิจิทัลอัลฟาคอมพิวเตอร์ (Digital Alpha Computer และซันสปาร์ค
(SUN SPARC) เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RPM (Red Hat Package Management) ถึงแม้ว่า
ขณะนี้ Linux ยังไม่สามารถแทนที่ Microsoft Windows บนพีซีหรือ Mac OS ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่
ก็มีผู้ใช้ จํานวนไม่น้อยที่สนใจมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บน Linux และเรื่องของการ
ดูแล ระบบ Linux นั้น ก็มีเครื่องมือช่วยสําหรับดําเนินการให้สะดวกยิ่งขึ้น
…………………………………………………………

การเลือกระบบปฏิบัติการให้กับคอมพิวเตอร์ (OS)
ครั้งก่อน ผมพูดถึงการเลือกซื้ออุปกรณ์เพื่อนำมาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ กันไปแล้ว..ครั้งนี้ผมจะพูดถึงวิธีการประกอบกันบ้าง..แต่เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องผมจะขอพูดถึงระบบปฏิบัติการ (OS) ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์กันก่อน..
ระบบปฏิบัติการ (OS) <-- มาจาก Operating System แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ คือ
1.Unix เป็น OS ที่ใช้สำหรับ เครื่อง Server เพราะเป็น OS ที่มีเสถียรถาพมากที่สุด ไม่เหมาะสำหรับผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไปเพราะใช้ยากต้องมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ขั้นสูง และไม่สนับสนุนพวก Multimedia ต่าง ๆ ปัจจุบันมี OS ที่เป็น Unix ที่พัฒนามาให้ใช้งานง่ายเหมาะสมกับผู้ใช้ทั่ว ๆ ไปเพราะจะมีลักษณะ คล้ายกับ Windows ของ Microsoft เราเรียก OS ตัวนี้ว่า Linux เป็น OS ที่สามารถนำมาใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ เพราะเป็น OS ที่แจก Source code เพื่อนำไปพัฒนา ก็มีอยู่หลาย ๆ ค่ายที่นำ Linux ไปพัฒนา แต่ที่ได้รับความนิยมก็คือ Redhat Linux เพราะการใช้งานง่ายคล้าย Windows สำหรับที่เป็นภาษาไทย ตอนนี้ เนคเทค ได้พัฒนาจนสามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ..สำหรับใครที่อยากทดลองใช้ก็สามารถ down load ได้จาก http://www.nectec.or.th
2. Apple OS เป็น OS ที่ใช้สำหรับเครื่อง Max เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบ Graffic design อะไรทำนองนั้นไม่เหมาะสำหรับ User อย่างเรา ๆ หรอกครับ..
3. Windows เป็น OS ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดถึงประมาณ 90 % ของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลก เพราะมีลักษณะการใช้งานที่ง่าย ไม่ต้องมีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์มากนัก สนับสนุน Multimedia อย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ฯลฯ Windows ในปัจจุบันมีให้เลือกใช้งานหลาย version ด้วยกัน ทั้งที่ให้เป็น Server และ Home use ทั่ว ๆ ดังนี้

>>Home use
1) Windows 3.11 เป็น OS แบบ 16 bit เป็น version แรกของ Windows ที่ใช้ทรัพยากรของระบบน้อยมาก แต่ประสิทธิภาพต่าง ๆ ที่สนับสนุนก็น้อยตามไปด้วย..
2) Windows 95 เป็น OS แบบ 32 bit พัฒนาขีดความสามารถขึ้นมาจากเดิม มีฟีเวอร์ต่าง ๆ เพิ่มเข้ามา แต่ version นี้ยังมี bug มากไม่ค่อยเสถียรพอ..
3) Windows 98 เป็น OS แบบ 32 bit ที่พัฒนามาจาก 95 แก้ไข bug ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งสนับสนุน Multimedia อย่างสมบูรณ์ มีการนำเอา browser ยอดนิยมอย่าง IE ติดมาให้ด้วย version นี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก..
4) Windows 98 SE เป็น OS แบบ 32 bit ที่แก้ไข version 98 ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น แก้ไข bug และเพิ่มฟีเวอร์ใหม่ ๆ มากมายเช่นสามารถทำเป็น Server แชร์ IP ให้กับเครื่องลูกได้ และนำเอา IE 5 ติดมาด้วย นับว่า version นี้เป็น version ที่ดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุด และเสถียรภาพมากที่สุดแล้ว ในตระกูลของ Windows 98
5) Windows Me เป็น OS แบบ 32 bit ที่พัฒนามาสำหรับ Home use โดยเฉพาะ ตัดเอา Ms-Dos ออกไปเพื่อสร้างความมีเสถียรภาพให้กับระบบ สนับสนุน Multimedia สมบูรณ์แบบที่สุด..ตอนนี้ผมเองก็ลองใช้อยู่ครับ..ยอมรับว่าดีมาก ๆ ไม่ค่อยมีปัญหาเหมือน 98 ที่ผ่านมาครับ..
>>Server
1) Windows NT4 มีความเสถียรถาพสูงทำงาน เป็น Srever การใช้งานผู้ใช้ต้องมีความรู้พอสมควรเพราะลักษณะการใช้งานคล้ายกับ Unix แต่จะมีระบบ Graffic ที่ดีกว่า..
2) Windows 2000 เป็น OS ที่เป็น NT พัฒนามาจาก NT4 มีความเสถียรภาพสูง และรองรับ Multimedia ใช้เป็น Server สนับสนุนการใช้งานแบบ Multi user มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีเยี่ยม..มี 2 version ให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม..
" พูดถึง Windows ผมก็อยากที่จะให้ทุก ๆ ท่านมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ Windows 98 กับ Windows 2000 ว่าจริง ๆ แล้วลักษณะการใช้งานแตกต่างกัน ดังที่ผมได้พูดไว้แล้ว..บางท่านยังเข้าใจผิดว่า Windows 2000 เป็น version ใหม่ล่าสุดที่มาแทนที่ Windows 98 SE เวลาจะซื้อเครื่องก็มักจะถามว่า เป็น Windows 2000 หรือเปล่า..อะไรทำนองนี้ ผมก็อยากให้ท่านทำความเข้าใจให้ถูกต้องด้วยนะครับ..ตอนนี้ที่เหมาะสำหรับ User ทั่ว ๆ ไป ก็คือ Windows 98 SE ครับ..ดีที่สุดแล้ว.."
………………………………………………………………………………………….

ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการ นี่นะครับ ก็หมายถึง ชุดของโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ครับ จะมีหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ประยุกต์ครับ ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการนะครับ ก็ได้แก่ MS - DOS , UNIX , LINUX , Windows Me , Windows XP เหล่านี้เป็นต้นครับ ระบบปฏิบัติการนี้นะครับจะทำงานอยู่เบื้องหลังของผู้ใช้ครับ โดยระบบปฏิบัติการนี้ก็มีหน้าที่หลักๆ ดังนี้ครับ
• อันแรกนี้ก็คือการจัดส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ ครับ เช่น หน่วยประมวลผลกลาง ที่เก็บข้อมูลสำรอง หน่วยความจำ และเครื่องพิมพ์ เป็นต้นครับ
• อันที่สองนี้นะครับก็คือจัดการในส่วนของการติดต่อกับผู้ใช้ครับ
• และในข้อนี้ก็ไดแก่ให้บริการโปรแกรมประยุกต์อื่นครับ เช่น และการแสดงผล เป็นต้น โดยปกติแล้วโปรแกรมประยุกต์จะต้องทำงานผ่านระบบปฏิบัติการครับ
ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานในปัจจุบันนี้นะครับ จะเป็นระบบปฏิบัติการวินโดว์ครับ เพราะสามารถใช้งานได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วด้วยครับ ถึงแม้คนที่ไม่ความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์เลย ก็สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการวินโดว์ได้ แต่ในที่นี้นะครับผมจะขอกล่าวถึง ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในอดีตและในปัจจุบันนะครับแต่ในที่นี่ผมจะขอกล่าวถึง เพียงสองอย่างนะครับ ซึ่งได้แก่ MS – DOS และก็ Microsoft Windows สองอย่างนี้นะครับ
• ในข้อหนึ่งนี้นะครับผมจะกล่าวถึง ระบบปฏิบัติการ MS – DOS ครับ ซึ่ง เมื่อผู้ใช้เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการก็จะถูกเรียกจากฮาร์ดดิสก์มาไว้ใน หน่วยความจำของเครื่องนะครับเพื่อเตรียมที่จะใช้งานได้ทันที ที่ต้องการนะครับ ซึ่งขั้นตอนที่ย้ายระบบปฏิบัติการเข้าสู่หน่วยความจำของเครื่องนั้นเรียกว่า การบูตระบบ ครับ ซึ่งเมื่อเปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้น โปรแกรมเล็ก ๆ ที่อยู่ใน หน่วยความจำรอม จะเรียกเอาส่วนประกอบพื้นฐานที่จำเป็นของระบบปฏิบัติการจากฮาร์ดดิสก์เข้ามาไว้ในหน่วยความจำหลักนะครับ ซึ่งจะได้ผลลัพธ์บนจอภาพเป็น C > หรือ C:\ > นี่นะครับ โดยที่หมายถึงดิสก์ไดรฟ์ที่ทำงานอยู่ และเครื่องหมาย > หมายถึงการเตรียมพร้อมที่จะทำงานจากนั้น ผู้ใช้ก็จะสามารถพิมพ์คำสั่งของ MS – DOS ได้ทันทีครับเพื่อใช้งานคอมพิวเตอร์
ส่วนในข้อนี้นะครับผมจะกล่าวถึง ระบบปฏิบัติการวินโดว์ ครับ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันนี้ครับ ผมจะกล่าวรายละเอียดเลยนะครับ คือ ไมโครซอฟต์วินโดว์นี่นะครับหรือที่นิยมเรียกกันว่า วินโดว์ นั่นแหละครับ ซึ่งมีระบบการติดต่อกับผู้ใช้เป็นแบบกราฟิกที่มีสีสันสวยงามมากครับและสามารถใช้ได้ง่าย ซึ่งผู้ใช้บนระบบวินโดว์นี้นะครับก็จะทำงานกับ เมนู และรูปภาพที่เรียกว่า ไอคอน แทนที่จะเป็นการพิมพ์คำสั่งต่าง ๆ ลงไปครับ ระบบปฏิบัติการวินโดว์ที่ใช้ในปัจจุบันนะครับก็ได้มีการพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่องนะครับ ซึ่งก็ได้มีสีสันที่สวยงามมากขึ้นกว่าเดิม และสามารถใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้นกว่าระบบปฏิบัติการวินโดว์ในรุ่นก่อนๆ นะครับ ถึงแม้ว่าวินโดว์จะเป็นระบบที่ทำงานด้วยกราฟิกที่มีสีสันสวยงานแต่การทำงาน ของวินโดว์นี้นะครับก็ยังทำงานภายใต้การทำงานของดอสครับ เพียงแต่ระบบวินโดว์นี้เราจะไม่จำเป็นต้องรู้คำสั่งของดอสเท่านั้นเอง เพราะเราใช้งานคำสั่งสำเร็จรูปด้วยเมนูบนวินโดว์ ครับ
ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
ระบบปฏิบัติการนี่ นะครับ คือระบบปฏิบัติการสำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์นะครับ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกันได้ครับ อย่างเช่น ใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน เป็นต้น ระบบปฏิบัติการเครือข่ายนี่นะครับจะมีคุณสมบัติในการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและ การใช้งานอุปกรณ์ร่วมกันนะครับ รวมทั้งยังมีระบบการป้องกันการสูญหายของข้อมูลอีกด้วยครับ
ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้ปัจจุบันนี้นะครับจะใช้หลักการประมวลผลแบบ ไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ นะครับ โดยส่วนประกอบสำหรับการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลและการจัดการโปรแกรมนั้นะครับจะทำงานอยู่บน เครื่องเซิร์ฟเวอร์ครับในขณะที่ส่วนประกอบอื่นๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายนี้นะครับจะอยู่บนเครื่องไคลเอนต์ครับ เช่น การติดต่อกับผู้ใช้ นะครับเหล่านี้เป็นต้น การจัดการให้ผู้ใช้เห็นว่างานและอุปกรณ์ทั้งหลายที่ใช้นั้นเสมือนอยู่บนเครื่องไคลเอนต์เองนะครับ ก็ถือว่าเป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งของระบบปฏิบัติการเครือข่ายด้วยนะครับ
ระบบปฏิบัติการบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่นี้นะครับอย่างเช่นเครื่องระดับเมนเฟรมนี่นะครับ ได้ถูกนำมาใช้ในด้านธุรกิจและการศึกษานะครับ ซึ่งจะมีผู้ใช้งานพร้อมๆ กันจำนวนมากนะครับ ทำให้ระบบปฏิบัติการของเครื่องระดับนี้มีการทำงานที่ซับซ้อนมาก โดยต้องทำการดูแลสั่งงานโปรแกรมพร้อมๆ กันจำนวนหลายๆ โปรแกรมนะครับ ดูแลในการเข้าใช้งานเครื่องของผู้ใช้จำนวนหลายๆ คนนะครับ ดูแลจัดลำดับและแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ใช้ ตลอดจนการรักษาความเป็นส่วนตัวและความลับของผู้ใช้แต่ละคนอีกด้วยนะครับ
ระบบปฏิบัติการแบบเปิด
ผมต้องขอเล่ารายละเอียดสักเล็กน้อยนะครับ คือว่า ในสมัยก่อนนั้นผู้ที่พัฒนาระบบปฏิบัติการก็คือบริษัทที่ผลิตคอมพิวเตอร์นะครับ ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงถูกออกแบบให้สามารถใช้ได้เฉพาะกับเครื่องของบริษัทเท่านั้นนะครับ ซึ่งเราเรียกระบบปฏิบัติการประเภทนี้ว่า ระบบปฏิบัติการแบบปิด ครับ ใน ปัจจุบันนี้นะครับเริ่มมีแนวโน้มที่จะทำให้ระบบการสามารถนำไปใช้งานบนเครื่องต่าง ๆ กันได้ซึ่งระบบปฏิบัติการแบบนี้นะครับก็คือ ระบบปฏิบัติการแบบเปิด นั่นเองครับ ก็อย่างเช่น UNIX หรืออีกระบบหนึ่งนะครับก็คือ ระบบ LINUX นี่เองครับ นี่แหละครับ คือระบบปฏิบัติการแบบเปิดครับ
http://www.geocities.com/ourbenja/comx01.htm
http://www.kingsolder.com/computer/os.asp