จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิธีป้องกันและกำจัดไวรัส

ข้อสังเกตุไวรัส

1. ไฟล์ที่เปงไวรัส ส่วนใหญ่ เปงไฟล์เล็กๆ เพื่อเวลาปล่อย จะได้กระจายง่าย
2. ไอค่อนจะหน้าตาแปลกๆ
3. ส่วนใหญ่ จะมีการหลอกให้เรา ดับเบิลคลิ๊ก ไฟล์ .exe ระวังให้มาก ไม่น่าไว้จัย ถ้าคลิ๊กเเร้วผิดปกติ รับรองตัวนั้นเปงไวรัสเเน่
4. มันจะเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนไอค่อน ทำให้เเสกนไวรัสไม่รุจัก
5. พวก คิดอะไรพวกนี้ จะมีการหลอกล่อ เก่งมากมาย 55+
6. ระวังให้ดีหละคับ

ข้อเเนะนำ

1. ปิดออโต้รัน (ดูได้จากบอดคอม)
2. อยากคลิ๊กไฟล์แปลกๆ ที่ไม่ไว้วางจัย ส่วนมากจะหลอกมา เปลี่ยนไอค่อน เปลี่ยน ชื่อไฟล์ เเต่เปน .exe ระวังด้วย
3. ถ้ารุว่าโดนไวรัสเข้าจิง มาโพสถามได้ ที่บอดคอม มีคนตอบอยู่ หรือ ดูได้จาก ctrl + alt +del ดูว่าอารายแปลกปลอม ปิดมันไปก่อน
4. ถ้าจะเเสกนไวรัส เเนะนำให้เเสกน ใน safe mode อ่ะนะ วิธีเข้าก้อง่ายๆ กด f8 ย้ำ ๆ หน่อย ตอนบูทเครื่อง น้า
5. คิดออกระ คิดตั้งนาน อิอิ ข้อนี้ ถ้าสงสัยว่า เราโดน ร้า ทำยังไงดีหว่า ทำไงก้ไม่ได้ เเสกนก้อเเร้ว ทำอะไรก้อเเร้ว เเนะนำให้ system restore อ่ะนะคับ
วิธีเข้าก้อไม่ได้ยากอารายเล้ย start > run > %SystemRoot%\system32\restore\rstrui.exe > เเล้ว Next > เลือกเวลา นะคับ ให้ย้อนกลับไปก่อนวันที่จะเกิดอาการ > เเล้วมันจะทำการรีเครื่องนะคับ ไม่ต้องตกจัย เท่านี้ ก้อเสดเเร้วคับ อาจจะหายก้อได้ ถ้ามันทำลายไฟล์วินโด้น้า
6. ลงวินโด้ใหม่ ก้อหาย บางส่วนนะคับ (พวกร้านซ่อมชอบจิงๆ ลงวินโด้ใหม่ เพราะว่า เค้าขี้เกียดเเก้)
7. เจอระ วิธีป้องกันไม่ให้เข้าไปยุ่งกะ registy ของเรา http://www.bcoms.net/tipcomputer/detail.asp?id=2019 นี่เลยงับ ลองเข้าไปทำดู
8. แล้วก้ออันนี้ nod32 hot fix นะคับ ส่วนใหญ่จะเเก้ได้หมดเลย http://www.nod32th.com/component/option,com_docman/task,cat_view/gid,67/Itemid,290/lang,th/ โหลดมาคลิ๊กทีละตัวก้อได้ ถ้าไม่เเน่จัยว่าอันไหนมัน คืออาการของเรานะคับ
9. สร้างไฟล์ autorun.inf ไว้ใน เเฟชไดร์ทนะคับหรือว่า ไดร์ทต่างๆของเครื่อง เเล้วคลิ๊กขวา > properties > แล้วติ๊ก read only ไว้นะคับ เท่านี้ ไวรัส มันก้อมาทับไม่ได้เเล้วหละคับ เเล้วก้อซ่อนไว้ด้วยก้อดี จะได้ไม่เกะกะงับ

อาการของคนติดไวรัส

1. คอมทำงานช้าลง
2. ใน processes มีอะไรไม่รุทำงานอยู่ เเล้วดันไปกินซีพียู ซะนั้น
3. ทำงานผิดปกติ อย่างเเรง
4. มักทำงานติดขัดๆ โดยไม่รุสาเหตุ
5. ครัย มีอาการขั้นต้น ให้คิดว่า เราโดน ซะเเร้วหละคับ

อาการของพวกที่โดนสปายเเวร์

1. ส่วนใหญ่จะ มี pop up โฆษณา เด้งขึ้นมาบ่อย
2. หน้าเวปชอบค้างๆๆ บ่อยๆ
3. ส่วนมากจะเกี่ยวกะ โปรแกรม Internet expoler อ่ะนะคับ
4. หันมาใช้ หมาย่าง ( Fire Fox ) ดีก่านะคับ

เเสกนไวรัสเเนะนำ

1. kaspersky
2. nod32
3. bitdefender
4. ......


แสกนสปายเเวร์เเนะนำนะคับ

1. ad-aware
2. XoftSpySE
3. ......

การติดตั้งโปรแกรมประยุกต์ Microsoft 2003

ใช้ข้อมูลในส่วนนี้เพื่อติดตั้งหรือซ่อมแซมและติดตั้งคุณลักษณะแต่ละอย่างใน Office 2003 ใหม่
กลับไปด้านบน
วิธีการติดตั้งคุณลักษณะแต่ละอย่างใน Office 2003
โดยทั่วไปแล้ว เมื่อคุณพยายามใช้คุณลักษณะที่ไม่ได้ติดตั้งอยู่เป็นครั้งแรก Office 2003 จะติดตั้งคุณลักษณะดังกล่าวโดยอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น หากคุณชี้ไปยัง รับข้อมูลภายนอก บนเมนู ข้อมูล ใน Microsoft Office Excel 2003 แล้วคุณคลิก เรียกใช้การสอบถามฐานข้อมูล Microsoft Query จะได้รับการติดตั้งโดยอัตโนมัติ

หากคุณลักษณะที่คุณต้องการไม่ได้รับการติดตั้งโดยอัตโนมัติใน Office 2003 ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
ปิดโปรแกรมทั้งหมด
คลิกที่ เริ่ม แล้วคลิก แผงควบคุม
คลิกสองครั้งที่ เพิ่มหรือเอาโปรแกรมออก คลิก Microsoft Office 2003 แล้วคลิก เปลี่ยน
ในกล่องโต้ตอบ การตั้งค่า Microsoft Office 2003 ให้คลิก เพิ่มหรือเอาคุณลักษณะออก แล้วคลิก ถัดไป
คลิกเพื่อเลือกกล่องกาเครื่องหมายของคอมโพเนนต์ที่คุณต้องการติดตั้ง
คลิกเพื่อเลือกกล่องกาเครื่องหมาย เลือกการกำหนดเองขั้นสูงของโปรแกรมประยุกต์ แล้วคลิก ถัดไป
ขยายผลิตภัณฑ์ที่คุณต้องการกำหนดเอง คลิกไอคอนที่อยู่ทางซ้ายของชื่อคุณลักษณะ และคลิกสถานะการติดตั้งที่คุณต้องการ ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการเอาคุณลักษณะออก ให้กำหนดเป็น ไม่พร้อมใช้งาน เมื่อต้องการติดตั้งคุณลักษณะในทันที ให้คลิก เรียกใช้จากคอมพิวเตอร์ของฉัน หรือคลิก ติดตั้งเมื่อใช้ครั้งแรก หากคุณต้องการติดตั้งคุณลักษณะเมื่อมีการร้องขอในครั้งแรก
เมื่อคุณเปลี่ยนสถานะการติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว คลิก ปรับปรุง
กลับไปด้านบน
วิธีการซ่อมแซมหรือติดตั้งโปรแกรม Office ใหม่
กระบวนการนี้จะตรวจหาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรม Microsoft Office ที่ติดตั้งไว้ เช่น การตั้งค่ารีจิสทรีและแฟ้มการติดตั้งหายไป กระบวนการนี้จะไม่ซ่อมแซมแฟ้มส่วนบุคคล เช่น แผ่นงานหรือแม่แบบ

วิธีการสองวิธีต่อไปนี้จะอธิบายวิธีการใช้ เครื่องมือตรวจหาและซ่อมแซมเพื่อตรวจหาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโปรแกรมที่ติดตั้งไว้
วิธีที่ 1: เรียกใช้ 'ตรวจหาและซ่อมแซม' บนเมนูวิธีใช้
บนเมนู วิธีใช้ ในโปรแกรม Office ใดๆ คลิก ตรวจหาและซ่อมแซม
คลิก เริ่ม
หมายเหตุ เมื่อต้องการคืนค่าทางลัดโปรแกรมเป็นเมนู เริ่ม ให้ตรวจสอบว่าได้เลือกกล่องกาเครื่องหมาย คืนค่าทางลัดของฉันในขณะซ่อมแซม ไว้แล้ว
วิธีที่ 2: เรียกใช้เครื่องมือตรวจหาและซ่อมแซม จาก เพิ่มหรือเอาโปรแกรมออก
คลิกที่ เริ่ม แล้วคลิก แผงควบคุม
คลิกสองครั้งที่ เพิ่มหรือเอาโปรแกรมออก คลิก Microsoft Office 2003 แล้วคลิก เปลี่ยน
ในกล่องโต้ตอบ การตั้งค่า Microsoft Office 2003 ให้คลิก ติดตั้งใหม่หรือซ่อมแซม แล้วคลิก ถัดไป
คลิก ติดตั้ง Office ใหม่ หรือ ตรวจหาและซ่อมแซมข้อผิดพลาดในการติดตั้ง Office ของฉัน แล้วคลิก ติดตั้ง

หมายเหตุ หากคุณเลือกตรวจหาและแก้ไขปัญหาในการติดตั้ง Microsoft Office ของคุณ ให้คลิกเพื่อเลือกกล่องกาเครื่องหมาย คืนค่าทางลัดเมนู 'เริ่ม' ของฉัน เพื่อสร้างทางลัดของ Microsoft Office ใหม่

วิธีการติดตั้งไดร์เวอร์

วิธีติดตั้งไดรเวอร์
สำหรับวิธีการติดตั้งไดรเวอร์สำหรับอุปกรณ์ต่างๆ นั้น อาจแบ่งวิธีในการติดตั้งได้เป็น 3 วีที่แตกต่างกันในเรื่องขั้นตอน และโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง คือ
{ ให้ Windows ตรวจสอบ และค้นหาให้เองอัตโนมัติตอนบู๊ตเครื่อง..........เนื้อหา

{ เรียกใช้ Add New Hardware Wizard ช่วยในการติดตั้งไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์..........เนื้อหา

{ ใช้โปรแกรมติดตั้งแบบสำเร็จรูปที่ให้มาพร้อมกับอุปกรณ์ ซึ่งในปัจจุบันมักจะมาเป็นแผ่นซีดี ..........เนื้อหา


ติดตั้งไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ

หลังจากติดตั้งระบบปฏิบัติการเรียบร้อยแล้ว อุปกรณ์หลักส่วนใหญ่อย่าง คีย์บอร์ด เมาส์ ไดรว์ซีดีรอม ฮาร์ดดิสก์ หรือฟล็อปปี้ดิสก์ จะพร้อมให้ใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องอาศัยไดรเวอร์หรือโปรแกรมเพิ่มเติมทั้งนี้ก็ด้วยคุณสมบัติ Plug and Play (PnP) ของอุปกรณ์ที่สามารถแจ้งรายละเอียดต่างๆ ของตัวเองแก่ BIOS และระบบปฏิบัติการได้ รวมทั้งความสามรรถของระบบปฏิบัติการณ์รุ่นใหม่ ๆ ที่ช่วยตรวจสอบและติดตั้งไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ได้โดยอัตโนมัติ แต่เนื่องจากอุปกรณ์ต่างรุ่นจากต่างผู้ผลิตกันมักจะมีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างกันออกไปด้วย ทั้งระบบปฏิบัติการเองก็คงไม่สามารถตระเตรียมมไดรเวอร์มาให้กับอุปกรณ์ทุกร่นที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ จึงจำเป็นต้องใช้ไดรเวอร์จากบริษัทผู้ผลิตโดยตรงที่มาพร้อมกับอุปกรณ์แทนดังนั้น ในบทนี้จึงขออธิบายขั้นตอน และวิธีการในการติดตั้งไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน



ลำดับในการติดตั้งไดรเวอร์
สำหรับการบู๊ตเครื่องครั้งแรกภายหลังการติดตั้ง Windows เสร็จใหม่ ๆ จะมีการตรวจพบอุปกรณ์ต่างๆ บนเมนบอร์ด เช่น ชิปเซ็ต พอร์ต USB ฯลฯ และติดตั้งไดรเวอร์ให้โดยอัตโนมัติ ซึ่ง Windows อาจจะถามหาแผ่นไดรเวอร์สำหรับอุปกรณ์บางตัวด้วย โดยที่คุณอาจจะตอบปฏิเสธการติดตั้งไดรเวอร์ไปก่อนแล้วมาติดตั้งด้วยตัวเองในภายหลังก็ได้ ตามขั้นตอนดังรูปในหน้าถัดไป



การติดตั้งไดรเวอร์จะเริ่มจากไดรเวอร์สำหรับเมนบอร์ดก่อน (ถ้ามี) เนื่องจากเป็นตัวกลางหลักที่เชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ อีกที จึงต้องจัดการให้เรียบร้อยก่อน ไดรเวอร์สำหรับเมนบอร์ดนี้หมายรวมถึงไดรเวอร์สำหรับอุปกรณ์พิเศษอื่น ๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ดด้วย จากนั้นบู๊ตเครื่อง 1 ครั้งเพื่อให้ไดรเวอร์ถูกโหลดและทำงานเสียก่อนจึงค่อยติดตั้งไดรเวอร์อื่น ๆ ต่อ
ลำดับถัดมาที่ควรจะติดตั้งคือไดรเวอร์การ์ดแสดงผล ซึ่งเป็นไดรเวอร์ที่จำเป็นรองจากเมนบอร์ดพร้อมทั้งสามารถติดตั้งไดรเวอร์ของจอภาพต่อเนื่องไปด้วยก็ได้ หลังจากติดตั้งเสร็จ บู๊ตเครื่องและปรับตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าจอเรียบร้อยแล้ว จึงค่อยติดตั้งไดรเวอร์อุปกรณ์ตัวอื่น ๆ ต่อไปโดยจะติดตั้งตัวไหนก่อนหลังอย่างไรก็ไม่มีปัญญาแล้ว

วิธีติดตั้งวินโดว์ XP

การติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows XP โดยปกติ จะสามารถทำได้ 2 แบบคือ การติดตั้งโดยการอัพเกรดจาก Windows ตัวเดิม หรือทำการติดตั้งใหม่เลยทั้งหมด สำหรับตัวอย่างในที่นี้ จะขอแนะนำวิธีการ ขั้นตอนการติดตั้ง Windows XP แบบลงใหม่ทั้งหมด ซึ่งความเห็นส่วนตัว น่าจะมีปัญหาในการใช้งานน้อยกว่าแบบอัพเกรดค่ะ

วิธีการติดตั้ง Windows XP ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบดังนี้
1. ติดตั้งแบบอัพเกรดจาก Windows ตัวเดิม โดยใส่แผ่น CD และเลือกติดตั้งจาก CD นั้นได้เลย
2. ติดตั้งโดยการบูตเครื่องใหม่จาก CD ของ Windows XP Setup และทำการติดตั้ง
3. ติดตั้งจากฮาร์ดดิสก์ โดยทำการ copy ไฟล์ทั้งหมดจาก CD ไปเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ ก่อนทำการติดตั้ง

ในการแบ่งพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ แนะนำให้ทำการวางแผนประมาณขนาดพื้นที่ไว้ล่วงหน้าด้วย โดยทั่วไปก็ไม่ควรจะใช้พื้นที่ต่ำกว่า 3G. และเนื่องจากระบบ Windows XP สามารถที่จะสร้างเมนู Multi Boot ได้หลังจากที่ติดตั้งไปแล้ว โดยยังสามารถเลือกเมนูว่า จะเรียก Windows ตัวเดิมหรือจะเรียก Windows XP ก็ได้ ดังนั้น หลาย ๆ ท่านมักจะแบ่งพื้นที่ไว้ลง Windows 98 ที่ Drive C: ประมาณ 5G. และเผื่อไว้สำหรับ Windows XP ที่ Drive D: อีกประมาณ 5G. ที่เหลือก็จะเป็น Drive E: สำหรับเก็บข้อมูลอื่น ๆ ทั่วไป แต่ถ้าหากลง Windows เพียงแค่ตัวเดียว ก็ไม่จำเป็นค่ะ
การตั้งค่าใน BIOS ก่อนทำการติดตั้ง Windows XP ใหม่จะต้องทำการ Disable Virus Protection ใน BIOS ซะก่อน เพราะว่าเมนบอร์ดบางรุ่นจะมีการป้องกัน Virus โดยการป้องกันการเขียนทับในส่วนของ Boot Area ของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเท่าที่เคยเห็นมา เครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะมีให้เลือกตั้งค่านี้อยู่แล้ว ถ้าหากเครื่องของใครไม่มีก็ไม่ต้องตกใจ เพราะเมนบอร์ด บางรุ่นอาจจะไม่มีก็ได้ วิธีการก็คือ
เริ่มจากการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ขณะที่เครื่องกำลังทำ Memory Test หรือนับ RAM อยู่นั่นแหละ ด้านล่างซ้ายมือจะมีคำว่า Press DEL to enter SETUP ให้กดปุ่ม DEL บน Keyboard เพื่อเข้าสู่เมนูของ Bios Setup (แล้วแต่เมนบอร์ด ด้วยบางทีอาจจะใช้ปุ่มอื่น ๆ สำหรับการเข้า Bios Setup ก็ได้ลองดูให้ดี ๆ) จากนี้ก็แล้วแต่ว่าเครื่องของใคร จะขึ้นเมนูอย่างไร คงจะไม่เหมือนกันแต่ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก จากนั้นให้มองหาเมนู Bios Features Setup ส่วนใหญ่จะเป็นเมนูที่สอง ใช้ปุ่มลูกศรเลื่อนแถบลงมาแล้วกด ENTER ถ้าใช่จะมีเมนูของ Virus Warning หรือ Virus Protection อะไรทำนองนี้ ถ้าหากเป็น Enable อยู่ละก็ให้เปลี่ยนเป็น Disable โดยเลื่อนแถบแสงไปที่เมนูที่เราต้องการใช้ปุ่ม PageUp หรือ PageDown สำหรับเปลี่ยนค่าให้เป็น Disable

กดปุ่ม ESC เพื่อกลับไปเมนูหลักของ Bios Setup มองหาเมนูของ SAVE TO CMOS AND EXIT หรืออะไรทำนองนี้เลื่อนแถบแสงไปเลยแล้วกด ENTER ถ้าหากเครื่องถามว่าจะ Save หรือไม่ก็ตอบ Y ได้เลย หลังจากนี้เครื่องจะทำการ Reboot ใหม่อีกครั้ง ใส่แผ่น Startup Disk ที่เราทำไว้ตามขั้นตอนแรกรอไว้ก่อนเลย
มาดูขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้น การติดตั้ง Windows XP กันเลยค่ะ
เริ่มต้น โดยการเซ็ตให้บูตเครื่องจาก CD-Rom Drive ก่อน โดยการเข้าไปปรับตั้งค่าใน bios ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเลือกลำดับการบูต ให้เลือก CD-Rom Drive เป็นตัวแรกครับ (ถ้าหากเป็นแบบนี้อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเปลี่ยนอะไร)



้ ทำการปรับเครื่อง เพื่อให้บูตจาก CD-Rom ก่อน จากนั้นก็บูตเครื่องจากแผ่นซีดี Windows XP Setup โดยเมื่อบูตเครื่องมา จะมีข้อความให้กดปุ่มอะไรก็ได้ เพื่อบูตจากซีดีคะ ก็เคาะ Enter ไปทีนึงก่อน

โปรแกรมจะทำการตรวจสอบและเช็คข้อมูลอยู่พักนึง รอจนขึ้นหน้าจอถัดไปค่ะ

เข้ามาสู่หน้า Welcome to Setup กดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

หน้าของ Licensing Agreement กดปุ่ม F8 เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

ทำการเลือก Drive ของฮาร์ดดิสก์ที่จะลง Windows XP แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

เลือกชนิดของระบบ FAT ที่จะใช้งานกับ Windows XP หากต้องการใช้ระบบ NTFS ก็เลือกที่ข้อบน แต่ถ้าจะใช้เป็น FAT32 หรือของเดิม ก็เลือกข้อสุดท้ายได้เลย (no changes) ถ้าไม่อยากวุ่นวาย แนะนำให้เลือก FAT32 นะคะ แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

โปรแกรมจะเริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้ง รอสักครู่ค่ะ

หลังจากนั้น โปรแกรมจะทำการ Restart เครื่องใหม่อีกครั้ง (ให้ใส่แผ่นซีดีไว้ในเครื่องแบบนั้น แต่ไม่ต้องกดปุ่มใด ๆ เมื่อบูตเครื่องใหม่ ปล่อยให้โปรแกรมทำงานไปเองได้เลยค่ะ)

หลังจากบูตเครื่องมาคราวนี้ จะเริ่มเห็นหน้าตาของ Windows XP แล้วค่ะ รอสักครู่

โปรแกรมจะเริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้งต่าง ๆ ก็รอไปเรื่อย ๆ ค่ะ

จะมีเมนูของการให้เลือก Regional and Language ให้กดปุ่ม Next ไปเลยค่ะ ยังไม่ต้องตั้งค่าอะไรในช่วงนี้

ใส่ชื่อและบริษัทของผู้ใช้งาน ใส่เป็นอะไรก็ได้ แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

ทำการใส่ Product Key (จะมีในด้านหลังของแผ่นซีดี) แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

หน้าจอให้ใส่ Password ของ Admin ให้ปล่อยว่าง ๆ ไว้แบบนี้แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

เลือก Time Zone ให้เป็นของไทย (GMT+07:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

รอสักพัก จนกระทั่งขั้นตอนต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อย ก็พร้อมแล้วสำหรับการเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows XP ครับ จากนั้น จะมีการบูตเครื่องใหม่อีกครั้ง เพื่อเริ่มต้นการใช้งานจริง ๆ

บูตเครื่องใหม่คราวนี้ อาจจะมีเมนูแปลก ๆ แบบนี้ เป็นการเลือกว่า เราจะบูตจากระบบ Windows ตัวเก่าหรือจาก Windows XP ครับ ก็เลือกที่ Microsoft Windows XP Professional ครับ ถ้าของใครไม่มีเมนูนี้ก็ไม่เป็นไรนะคะ

เริ่มต้นบูตเครื่อง เข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows XP แล้วค่ะ

ในครั้งแรก อาจจะมีการถามเรื่องของขนาดหน้าจอที่ใช้งาน กด OK เพื่อให้ระบบตั้งขนาดหน้าจอให้เราได้เลยค่ะ นอกจากนี้ ถ้าหากเครื่องไหนมีการถาม การติดตั้งค่าต่าง ๆ ก็กดเลือกที่ Next หรือ Later ไปก่อน บางครั้งอาจจะมีให้เราทำการสร้าง Username อย่างน้อย 1 ฃื่อก่อนเข้าใช้งาน ก็ใส่ชื่อของคุณเข้าไปได้เลย

วิธีติดตั้งวินโดว์ XP

การติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows XP โดยปกติ จะสามารถทำได้ 2 แบบคือ การติดตั้งโดยการอัพเกรดจาก Windows ตัวเดิม หรือทำการติดตั้งใหม่เลยทั้งหมด สำหรับตัวอย่างในที่นี้ จะขอแนะนำวิธีการ ขั้นตอนการติดตั้ง Windows XP แบบลงใหม่ทั้งหมด ซึ่งความเห็นส่วนตัว น่าจะมีปัญหาในการใช้งานน้อยกว่าแบบอัพเกรดค่ะ

วิธีการติดตั้ง Windows XP ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบดังนี้
1. ติดตั้งแบบอัพเกรดจาก Windows ตัวเดิม โดยใส่แผ่น CD และเลือกติดตั้งจาก CD นั้นได้เลย
2. ติดตั้งโดยการบูตเครื่องใหม่จาก CD ของ Windows XP Setup และทำการติดตั้ง
3. ติดตั้งจากฮาร์ดดิสก์ โดยทำการ copy ไฟล์ทั้งหมดจาก CD ไปเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ ก่อนทำการติดตั้ง

ในการแบ่งพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ แนะนำให้ทำการวางแผนประมาณขนาดพื้นที่ไว้ล่วงหน้าด้วย โดยทั่วไปก็ไม่ควรจะใช้พื้นที่ต่ำกว่า 3G. และเนื่องจากระบบ Windows XP สามารถที่จะสร้างเมนู Multi Boot ได้หลังจากที่ติดตั้งไปแล้ว โดยยังสามารถเลือกเมนูว่า จะเรียก Windows ตัวเดิมหรือจะเรียก Windows XP ก็ได้ ดังนั้น หลาย ๆ ท่านมักจะแบ่งพื้นที่ไว้ลง Windows 98 ที่ Drive C: ประมาณ 5G. และเผื่อไว้สำหรับ Windows XP ที่ Drive D: อีกประมาณ 5G. ที่เหลือก็จะเป็น Drive E: สำหรับเก็บข้อมูลอื่น ๆ ทั่วไป แต่ถ้าหากลง Windows เพียงแค่ตัวเดียว ก็ไม่จำเป็นค่ะ
การตั้งค่าใน BIOS ก่อนทำการติดตั้ง Windows XP ใหม่จะต้องทำการ Disable Virus Protection ใน BIOS ซะก่อน เพราะว่าเมนบอร์ดบางรุ่นจะมีการป้องกัน Virus โดยการป้องกันการเขียนทับในส่วนของ Boot Area ของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเท่าที่เคยเห็นมา เครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะมีให้เลือกตั้งค่านี้อยู่แล้ว ถ้าหากเครื่องของใครไม่มีก็ไม่ต้องตกใจ เพราะเมนบอร์ด บางรุ่นอาจจะไม่มีก็ได้ วิธีการก็คือ
เริ่มจากการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ขณะที่เครื่องกำลังทำ Memory Test หรือนับ RAM อยู่นั่นแหละ ด้านล่างซ้ายมือจะมีคำว่า Press DEL to enter SETUP ให้กดปุ่ม DEL บน Keyboard เพื่อเข้าสู่เมนูของ Bios Setup (แล้วแต่เมนบอร์ด ด้วยบางทีอาจจะใช้ปุ่มอื่น ๆ สำหรับการเข้า Bios Setup ก็ได้ลองดูให้ดี ๆ) จากนี้ก็แล้วแต่ว่าเครื่องของใคร จะขึ้นเมนูอย่างไร คงจะไม่เหมือนกันแต่ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก จากนั้นให้มองหาเมนู Bios Features Setup ส่วนใหญ่จะเป็นเมนูที่สอง ใช้ปุ่มลูกศรเลื่อนแถบลงมาแล้วกด ENTER ถ้าใช่จะมีเมนูของ Virus Warning หรือ Virus Protection อะไรทำนองนี้ ถ้าหากเป็น Enable อยู่ละก็ให้เปลี่ยนเป็น Disable โดยเลื่อนแถบแสงไปที่เมนูที่เราต้องการใช้ปุ่ม PageUp หรือ PageDown สำหรับเปลี่ยนค่าให้เป็น Disable

กดปุ่ม ESC เพื่อกลับไปเมนูหลักของ Bios Setup มองหาเมนูของ SAVE TO CMOS AND EXIT หรืออะไรทำนองนี้เลื่อนแถบแสงไปเลยแล้วกด ENTER ถ้าหากเครื่องถามว่าจะ Save หรือไม่ก็ตอบ Y ได้เลย หลังจากนี้เครื่องจะทำการ Reboot ใหม่อีกครั้ง ใส่แผ่น Startup Disk ที่เราทำไว้ตามขั้นตอนแรกรอไว้ก่อนเลย
มาดูขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้น การติดตั้ง Windows XP กันเลยค่ะ
เริ่มต้น โดยการเซ็ตให้บูตเครื่องจาก CD-Rom Drive ก่อน โดยการเข้าไปปรับตั้งค่าใน bios ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเลือกลำดับการบูต ให้เลือก CD-Rom Drive เป็นตัวแรกครับ (ถ้าหากเป็นแบบนี้อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเปลี่ยนอะไร)



้ ทำการปรับเครื่อง เพื่อให้บูตจาก CD-Rom ก่อน จากนั้นก็บูตเครื่องจากแผ่นซีดี Windows XP Setup โดยเมื่อบูตเครื่องมา จะมีข้อความให้กดปุ่มอะไรก็ได้ เพื่อบูตจากซีดีคะ ก็เคาะ Enter ไปทีนึงก่อน

โปรแกรมจะทำการตรวจสอบและเช็คข้อมูลอยู่พักนึง รอจนขึ้นหน้าจอถัดไปค่ะ

เข้ามาสู่หน้า Welcome to Setup กดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

หน้าของ Licensing Agreement กดปุ่ม F8 เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

ทำการเลือก Drive ของฮาร์ดดิสก์ที่จะลง Windows XP แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

เลือกชนิดของระบบ FAT ที่จะใช้งานกับ Windows XP หากต้องการใช้ระบบ NTFS ก็เลือกที่ข้อบน แต่ถ้าจะใช้เป็น FAT32 หรือของเดิม ก็เลือกข้อสุดท้ายได้เลย (no changes) ถ้าไม่อยากวุ่นวาย แนะนำให้เลือก FAT32 นะคะ แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

โปรแกรมจะเริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้ง รอสักครู่ค่ะ

หลังจากนั้น โปรแกรมจะทำการ Restart เครื่องใหม่อีกครั้ง (ให้ใส่แผ่นซีดีไว้ในเครื่องแบบนั้น แต่ไม่ต้องกดปุ่มใด ๆ เมื่อบูตเครื่องใหม่ ปล่อยให้โปรแกรมทำงานไปเองได้เลยค่ะ)

หลังจากบูตเครื่องมาคราวนี้ จะเริ่มเห็นหน้าตาของ Windows XP แล้วค่ะ รอสักครู่

โปรแกรมจะเริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้งต่าง ๆ ก็รอไปเรื่อย ๆ ค่ะ

จะมีเมนูของการให้เลือก Regional and Language ให้กดปุ่ม Next ไปเลยค่ะ ยังไม่ต้องตั้งค่าอะไรในช่วงนี้

ใส่ชื่อและบริษัทของผู้ใช้งาน ใส่เป็นอะไรก็ได้ แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

ทำการใส่ Product Key (จะมีในด้านหลังของแผ่นซีดี) แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

หน้าจอให้ใส่ Password ของ Admin ให้ปล่อยว่าง ๆ ไว้แบบนี้แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

เลือก Time Zone ให้เป็นของไทย (GMT+07:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

รอสักพัก จนกระทั่งขั้นตอนต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อย ก็พร้อมแล้วสำหรับการเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows XP ครับ จากนั้น จะมีการบูตเครื่องใหม่อีกครั้ง เพื่อเริ่มต้นการใช้งานจริง ๆ

บูตเครื่องใหม่คราวนี้ อาจจะมีเมนูแปลก ๆ แบบนี้ เป็นการเลือกว่า เราจะบูตจากระบบ Windows ตัวเก่าหรือจาก Windows XP ครับ ก็เลือกที่ Microsoft Windows XP Professional ครับ ถ้าของใครไม่มีเมนูนี้ก็ไม่เป็นไรนะคะ

เริ่มต้นบูตเครื่อง เข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows XP แล้วค่ะ

ในครั้งแรก อาจจะมีการถามเรื่องของขนาดหน้าจอที่ใช้งาน กด OK เพื่อให้ระบบตั้งขนาดหน้าจอให้เราได้เลยค่ะ นอกจากนี้ ถ้าหากเครื่องไหนมีการถาม การติดตั้งค่าต่าง ๆ ก็กดเลือกที่ Next หรือ Later ไปก่อน บางครั้งอาจจะมีให้เราทำการสร้าง Username อย่างน้อย 1 ฃื่อก่อนเข้าใช้งาน ก็ใส่ชื่อของคุณเข้าไปได้เลย
[แก้ไข] ลักษณะและคำอธิบาย
โครงสร้างหลักๆ ของ BIOS นั้นมีส่วนประกอบหลักๆ อยู่สองอย่างคือ

ตัวโปรแกรมของไบออส จะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำแบบ ROM เพราะจำได้นานไม่มีลืมเหมือนกับ RAM ทำให้เราสามารถเรียกใช้ BIOS ได้ทันทีเมื่อเปิดเครื่อง แต่เราไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปใน ROM ได้
ส่วนตัวข้อมูลจะถูกเก็บไว้ที่ CMOS RAM เป็นหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่สามารถเขียนไฟล์ทับได้ คล้ายกับ RAM แต่ต้องใช้ไฟเลี้ยง ถ้าไม่มีไฟ ระบบจะลืมข้อมูลทันที โดยไฟที่ว่านี้มาจากก้อนแบตเตอรี่เล็กติดอยู่บนเมนบอร์ด ถ้าแบตเตอรี่นี้หมด เครื่องก็จะมีปัญหา
การเข้าสู่ BIOS Setup Mode

สำหรับวิธีการที่จะเข้าไปตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ได้นั้น จะขึ้นอยู่กับระบบของแต่ละเครื่องด้วย โดยปกติเมื่อเราทำการเปิดสวิทช์ไฟของเครื่องคอมพิวเตอร์ BIOS ก็จะเริ่มทำงานโดยทำการทดสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ก่อนที่จะเรียกใช้งานระบบ DOS จากแผ่น Floppy Disk หรือ Hard Disk ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เราสามารถเข้าไปทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ได้โดยกด Key ต่าง ๆ เช่น DEL, ESC CTRL-ESC, CTRL-ALT-ESC ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละเครื่องจะตั้งไว้อย่างไร ส่วนใหญ่ จะมีข้อความบอกเช่น "Press DEL Key to Enter BIOS Setup" เป็นต้น

ปุ่ม Key ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับการ Setup BIOS ส่วนใหญ่จะเป็นแบบเดียวกัน โดยจะมีรูปแบบทั่วไปดังนี้

Up, Down, Left, Right ใช้สำหรับเลื่อนเมนูตามต้องการ
Page Up, Page Down ใช้สำหรับเพิ่ม ลบ หรือเปลี่ยนแปลงค่าตามต้องการ
ESC Key ใช้สำหรับย้อนกลับไปเมนูแรกก่อนหน้านั้น
Enter Key ใช้สำหรับเลือกที่เมนูตามต้องการ
F1, F2 ถึง F10 ใช้สำหรับการทำรายการตามที่ระบุในเมนู BIOS Setup
[แก้ไข] หน้าที่และความสำคัญ
BIOS (Basic Input/Output System) คือ Chip ROM (EPROM : Erasable Programmable Read-Only Memory) Bios เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุม Hardware ในการ Boot คอมพิวเตอร์ โดยทุกครั้งเมื่อเราเปลี่ยนเครื่องอ่านข้อมูล ไม่ว่า Floppy Disk Drive , Hard Disk Drive และ Cd-Rom Drive โดยเฉพาะ Hard Disk เมื่อต่อเพิ่มหรือถอดออก จะต้องบอกให้ Bios รับรู้เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการ Boot เครื่อง เพื่อเข้าสู่โปรแกรม Windows หรือ OS ต่อไป

ขั้นตอนการทำงานของ BIOS

เมื่อเปิดเครื่อง BIOS จะตรวจสอบอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นต่อการใช้งาน เช่น Keyboard, Disk Drive, Monitor, Memory ฯลฯ หากมีอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งทำงานไม่ถูกต้อง จะแจ้งข้อผิดพลาดให้ทราบทั้งในลักษณะข้อความ (หากจอภาพทำงานได้)และเสียง beep หากจอภาพทำงานไม่ได้
โหลดค่ากำหนดเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆขึ้นมาใช้งาน โดยค่าต่างๆเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ใน CMOS ซึ่งผู้ใช้สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยผ่าน SETUP
โหลดระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งไว้ในดิสก์ขึ้นมาทำงาน
เมื่อระบบปฏิบัติการเริ่มทำงาน นั่นคือคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะอยู่ในสภาพที่พร้อมสำหรับการใช้งานแล้ว ส่วน BIOS จะทำหน้าที่ให้บริการต่างๆต่อระบบการปฏิบัติการอยู่เบื้องหลัง เช่น การอ่าน-เขียนข้อมูลจากดิสก์, เปิดจอภาพเมื่อผู้ใช้ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานๆ ฯลฯ
เมื่อต้องการปิดเครื่อง BIOS จะปิดการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆทั้งหมดรวมถึงตัดกระแสไฟที่จ่ายให้ power supply ด้วย ค่ากำหนดต่างๆที่เก็บไว้ใน CMOS จะไม่หายไป เมื่อผู้ใช้เปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ การทำงานจะวนรอบกลับไปยังขั้นตอนที่ 1 ทันที ดังจะเห็นได้ว่าการทำงานของ BIOS มีผลต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา หาก BIOS ได้รับการปรับตั้งไม่ถูกต้อง หรือปรับตั้งไว้ไม่ดี จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นทำงานได้ไม่ถูกต้อง, ไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือแม้แต่ใช้งานไม่ได้เลยก็เป็นได้
POST ขั้นตอนสำคัญของการเริ่มต้นระบบ


AWARD BIOS
AMI BIOSเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ BIOS จะเข้าสู่ขั้นตอนที่เรียกว่า POST (Power-On Self Test) ซึ่งเป็นการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีในคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเอง สาเหตุที่ต้องตรวจสอบก่อนก็เพราะคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีอุปกรณ์ไม่เหมือนกัน อีกทั้งผู้ใช้ยังสามารถเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์เหล่านี้ได้โดยอิสระอีกด้วย ดังนั้นย่อมเป็นการดีที่จะมาตรวจสอบกันก่อนเริ่มต้นทำงาน ในกรณีที่เจอข้อผิดพลาดก็ยังสามารถรายงานให้ผู้ใช้ทราบ และแก้ไขได้อย่างถูกต้อง

4 ขั้นตอนการทำงานของ POST

ใน BIOS ใดๆ แม้จะต่างยี่ห้อ ต่างบริษัทกัน โดยส่วนใหญ่จะมีขั้นตอน POST ที่คล้ายๆ กัน 4 ขั้นตอน ดังนี้

แสดงข้อความเริ่มต้นของการ์ดแสดงผล ซึ่งปกติจะขึ้นอยู่กับชนิดของการ์ดแสดงผลที่ติดตั้งอยู่ในคอมพิวเตอร์นั้นๆ โดยอาจแสดงชื่อบริษัท-โลโก้ของผู้ผลิต,ชื่อรุ่น,ขนาดของหน่วยความจำ ฯลฯ หรือในบางรุ่นอาจไม่แสดงข้อความใดๆ ในขั้นตอนนี้เลยก็ได้
แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ BIOS รวมถึงหมายเลขอ้างอิงสำหรับผู้ผลิตเมนบอร์ดและข้อความอื่นๆ
ตรวจสอบและนับจำนวนหน่วยความจำ รวมทั้งเริ่มการทำงานของอุปกรณ์ประเภทดิสก์ไดรฟ์
เมื่อสิ้นสุดการทำงานของ POST แล้ว บนหน้าจอจะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์พื้นฐานทั้งหมด จากนั้นจึงโหลดระบบปฏิบัติการจากดิสก์ที่กำหนด (ผ่านทาง SETUP )มาทำงานต่อไป

BIOS ที่มีใช้งานอยู่ส่วนใหญ่จะมีอยู่ 2 บริษัทคือของ AMI BIOS (American Megatrends Inc) และ AWARD (ปัจจุบันรวมเข้ากับ Phoenix Technologies, Ltd. แล้ว) นอกจากนี้ก็จะมี BIOS ที่เป็นของแบนด์เนมต่าง ๆ เช่น COMPAQ หรือ IBM ซึ่งจะมีหน้าตาและวิธีการตั้งค่าแตกต่างออกไปด้วย

Web link บริษัท AMI BIOS
Web link บรัษัท Phoenix
สรุปว่า BIOS มีความสำคัญมากในระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มี BIOS เราก็ไม่สามารถเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์

[แก้ไข] ภาพตัวอย่าง